งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
แยกกันอยู่เกิน 5 ปี ฟ้องหย่าอย่างไรได้บ้าง
ผมแยกกันอยู่กับภรรยาเก่ามาประมาณ 9 ปีแล้ว มีลูกด้วยกัน 1 คน อายุ 14 ปีแล้ว ตอนนั้นที่เลิกกันเนื่องจากผมมีหนี้เป็นแสน ภรรยาเก่าเลยไล่ออกจากบ้าน แล้วประมาณ 2 เดือน ก็ไปเจอเขามีคนใหม่ เลยเลิกกัน ผมกลับมาอยู่กับพ่อแม่และไม่ได้กลับไปอยู่ด้วยกันอีกเลยจนถึงทุกวันนี้ และภรรยาเก่าก็มีแฟนใหม่ไปหลายคนแล้ว แต่เลิกกันไม่ได้อยู่กินเป็นเรื่องเป็นราว ส่วนผมมีแฟนใหม่ อยู่กินกันจนมา 6 ปีแล้ว และกำลังจะซื้อบ้านด้วยกัน แต่ติดที่ผมยังไม่จดทะเบียนหย่า ขอปรึกษาดังนี้ครับ
1. ถ้าฟ้องหย่าภรรยาได้หรือไม่ เนื่องจากแยกกันมาเกิน 5 ปีแล้ว
2. ค่าใช้จ่ายตอนกับศาลประมาณเท่าไหร่
3. ค่าทนายประมาณเท่าไหร่
4. ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ส่งเสียลูก ให้เฉพาะค่าเทอม เนื่องจากผมรายได้น้อย ตรงนี้จะมีผลต่อการแพ้ชนะในการฟ้องหรือไม่
5. ภรรยาเก่าเคยให้เหตุผลว่า ถ้าผมมีบ้านมีรถเมื่ออไหร่ เขาจะกลับมาอยู่ด้วยเลยไม่ยอมหย่า ตรงนี้จะมีผลในการฟ้องหรือไม่ กลัวเขาจะให้เหตุผลว่าแยกกันอยู่เฉย ๆ รบกวนขอคำปรึกษาด้วยครับ
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
1.การฟ้องหย่าโดยอ้างเหตุแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจแต่เพียงฝ่ายเดียว การที่ภริยาเก่าไล่ท่านออกจากบ้าน การแยกไปอยู่ต่างหากของท่านจึงไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของท่าน ไม่อาจฟ้องหย่าภริยาโดยอ้างเหตุนี้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4/2) แต่ท่านอาจฟ้องหย่าโดยอ้างเหตุฟ้องหย่าอื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1516 ก็ได้
2.ท่านจึงควรปรึกษาทนายเพื่อดำเนินคดีหย่าตลอดทั้งค่าใช้จ่ายการดำเนินกระบวนพิจารณานั้น
3.หน้าที่ความรับผิดการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรอาจไม่ใช่ข้อสำคัญในประเด็นเรื่องหย่า แต่อาจมีผลในการที่ศาลจะชี้ขาดอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
4.เหตุผลข้อกล่าวร้างว่าท่านจะต้องมีทรัพย์สินใดอันเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่ภรรยาเก่าจะกลับมาอยู่กับท่าน ไม่ใช่ข้ออ้างอันสมควรที่จะมีผลในคดีหย่า