ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน|ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

ทนายคลายทุกข์ขอนำความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

บทความวันที่ 8 เม.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 185911 ครั้ง


หญิง

ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

 

            ทนายคลายทุกข์ขอนำความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  จากหนังสือ ครอบครัว  โดยประสพสุข  บุญเดช  ซึ่งเป็นเรื่องสมาชิกสอบถามเข้ามาที่ทนายคลายทุกข์เป็นจำนวนมาก  ว่าจะถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  จะมีส่วนในทรัพย์สินหรือไม่  ซึ่งท่านที่กำลังมีปัญหาเรื่องทรัพย์สิน  สามารถศึกษาได้จากข้อมูลที่ทนายคลายทุกข์นำมาเสนอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือของคุณประสพสุข 

 

สามีภริยาได้ทำการสมรสกัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478  ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ได้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5  แล้ว   โดยมิได้จดทะเบียนกันนั้น  ไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย  เพราะมาตรา 1457  บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า  การสมรสจะมีได้เมื่อได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วเท่านั้น  ชายและหญิงที่อยู่ด้วยกันดังกล่าวจึงไม่เป็นคู่สมรสต่อกัน  บุตรที่เกิดมาก็ถือว่าเป็นบุตรของหญิงฝ่ายเดียว  สินส่วนตัวและสินสมรสไม่เกิดขึ้น  แต่อย่างไรก็ตามทรัพย์สินที่ชายหญิงคู่นี้ได้ลงทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกัน  ระหว่างที่อยู่กินด้วยกันนั้น  ถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันและมีส่วนในทรัพย์สินเหล่านั้นคนละครึ่งเท่ากัน  ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรม  เพราะการที่ชายหญิงแต่งงานกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส  แม้ทางกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย  แต่ก็หาการกระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่ชายหญิงจะพึงมีได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่ 

 

ตัวอย่างเช่น  สามีภริยาไม่ได้จดทะเบียน  หญิงขายทรัพย์ของตนเองเอาไปซื้อที่ดินและกระบือลงชื่อชายถือกรรมสิทธิ์ทำกินร่วมกันมา  ชายตาย  ถือว่าชายหญิงเป็นเจ้าของร่วมกัน  หรือ หญิงชายอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส  ได้ร่วมกันซื้อนาและทำกินเป็นการแสดงเจตนาให้ถือได้ว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน  ส่วนเงินที่ซื้อฝ่ายใดจะยืมใครมาเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์  เพราะหญิงคนนั้นระคนปนทรัพย์กันใช้สอยและทำมาหากินด้วยกัน  ต้องถือว่าต่างมีสิทธิเป็นเจ้าของคนละครึ่ง  เป็นต้น  หลักการเช่นว่านี้ในต่างประเทศ เช่น  สหรัฐอเมริกา  ศาลอุทธรณ์แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย  ก็ได้วินิจฉัยในทำนองเดียวกันว่า  แม้สามีภริยามิได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย  แต่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันก็จะต้องนำมาแบ่งปันเป็นคนละครึ่งเช่นเดียวกัน  อย่างไรก็ดีสำหรับทรัพย์สินที่ต่างคนต่างทำมาหาได้แยกกันนั้นเป็นสิทธิของฝ่ายนั้นผู้เดียว  อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนแบ่งด้วยเพราะไม่ถือว่าเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474(1) ฉะนั้น  สามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันสามีจึงไม่มีสิทธิฟ้องของแบ่งทรัพย์จากภริยาในส่วนทรัพย์ที่สามีมิได้ร่วมแรงร่วมทุนทำมาหาได้กับภริยาแต่อย่างใด

           

การลงทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกัน  โดยหลักการแล้วหมายถึงการที่ชายและหญิงร่วมกันทำการค้าหรือดำเนินกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจงแล้วได้เงินหรือทรัพย์สินมา  เงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวจึงจะถือว่าชายและหญิงเป็นเจ้าของร่วมกันในส่วนเท่ากัน  หากชายรับราชการได้เงินเดือนเดือนละ 15,000  บาท  เงินเดือนและค่าจ้างเป็นของชายหรือหญิง เช่นว่านี้เป็นของตนเองโดยเฉพาะ หรือหญิงได้รับมรดกเป็นที่ดิน 3 แปลง  ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวก็เป็นของหญิงโดยลำพังเช่นเดียวกัน  การที่ชายหญิงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน  ชายประกอบกิจการค้าส่วนหญิงอยู่บ้านเลี้ยงบุตร  ดูแลบ้าน  ทำอาหารเลี้ยงดูครอบครัวเป็นเวลาหลายปี  มีทรัพย์สินหลายสิ่งหลายอย่างเพิ่มขึ้น  จะถือว่าการที่หญิงเป็นแม่บ้านดูแลครอบครัว  เป็นการลงทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกันกับชาย  จึงมีส่วนแบ่งในทรัพย์สินส่วนนี้หรือไม่  ศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ในปี 2512  ว่า  การที่หญิงดูแลครอบครัวให้ชายเป็นการร่วมกันกับชาย  ทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติร่วมกันแล้ว  ชายหญิงจึงมีส่วนในทรัพย์สินดังกล่าวเท่า ๆ กัน

           

มีข้อน่าสังเกตว่า  การที่ถือหลักว่าหญิงอยู่บ้านดูแลครอบครัวให้ชายที่ออกไปทำงานนอกบ้านได้มีชีวิตอยู่ด้วยความผาสุกเป็นการร่วมทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกับชาย  อาจเป็นเหตุจูงใจให้ชายและหญิงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนกันให้ถูกต้องตามกฎหมายมากยิ่งขึ้น  เพราะแทบไม่มีผลแตกต่างกันกันในทางทรัพย์สินระหว่างการที่ชายหญิงจะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่  ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดหามาได้โดยลำพัง  อีกฝ่ายหนึ่งก็ยังคงมีส่วนแบ่งคนละครึ่งเช่นเดียวกับสินสมรส  โดยหลักการแล้วการที่ชายและหญิงมิได้เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย  ต่างฝ่ายต่างไม่มีหน้าที่ต้องอยู่ด้วยกันฉันสามีภริยาหรืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน  ฉะนั้นหญิงที่อยู่บ้านดูแลครอบครัวน่าจะเป็นเพียงการมีส่วนร่วมในการอยู่รวมกันโดยใช้แรงงานแทนเงินค่าเช่าบ้านและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เท่านั้น  หาใช่เป็นการลงทุนร่วมแรงทำมาหากินด้วยกันกับชายอย่างแท้จริงไม่  หญิงเองก็มีความผาสุกในการกระทำดังกล่าวเช่นเดียวกับชายเหมือนกัน  ในประเทศอังกฤษเมื่อปี 2527  มีคดีที่ชายหญิงภริยาคู่หนึ่งอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยามาเป็นเวลานานถึง 19 ปี โดยหญิงต้องลาออกจากงานมาดูแลบ้านและครอบครัวซึ่งมีบุตรด้วยกัน 2 คน  ชายหญิงคู่นี้มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในบ้านที่บุคคลทั้งสองใช้เป็นที่อยู่อาศัย  ศาลวินิจฉัยว่าหญิงไม่มีส่วนร่วมในการได้มาซึ่งบ้านหลังนี้  จึงไม่มีส่วนแบ่งใด ๆ ในบ้านดังกล่าวแม้ว่าหญิงจะทำงานหนักมาหลายปีเท่ากับชายในค้ำจุนครอบครัวในแง่ของครอบครัวก็ตาม  ฉะนั้นจึงน่าจะต้องรอดูต่อไปว่า  ศาลฎีกาจะยังคงยืนยันหลักการเดิมหรือจะเปลี่ยนหลักการมาทำนองเดียวกับคดีของศาลอังกฤษเช่นว่านี้ในโอกาสต่อไป

           

สำหรับการที่ชายกับชายก็ดี  หรือหญิงกับหญิงก็ดี  มาอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยานั้น  เนื่องจากบุคคลทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้  เพราะขัดต่อเงื่อนไขของการสมรสที่ฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชาย  และอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นหญิง  แต่ในทางด้านทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองทำมาหาได้ด้วยกันในระหว่างอยู่กินด้วยกันนี้  ต้องถือว่าบุคคลที่สองมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกัน  โดยมาตรา 1357  ให้สันนิษฐานว่าผู้เป็นเจ้าของร่วมกันมีส่วนเท่ากัน  จึงต้องแบ่งกันคนละครึ่งเคยมีคดีที่โจทก์เป็นหญิงแต่มีนิสัยและทำตัวเป็นชาย  มีอาชีพขายเนื้อโค  กระบือ  ส่วนจำเลยก็เป็นหญิงมีอาชีพเป็นนักร้อง  โจทก์และจำเลยได้มาอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกันโดยจำเลยเลิกอาชีพดังกล่าวและทำพิธีเข้าถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับโจทก์  ระหว่างที่อยู่กินด้วยกันมาเกิดมีทรัพย์สินคือ  ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวม 3 แปลง  โดยที่ดินทั้งสามแปลงนี้มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์  โจทก์จึงมาฟ้องขอแบ่งที่ดินดังกล่าว   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  แม้โจทก์จำเลยเป็นหญิงไม่สามารถจะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย  แต่ตามพฤติกรรมที่บุคคลทั้งสองได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลาเกือบ 20 ปี  โดยจำเลยทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน  แต่ได้ความจากคำเบิกความของโจทก์เองว่าบางครั้งจำเลยก็มาช่วยโจทก์ขายเนื้อในตลาด  ในการซื้อ โค  กระบือนั้น  หากจ่ายเป็นเช็คก็ใช้เช็คของจำเลย  แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของโจทก์จำเลยร่วมกัน  บรรดาทรัพย์ที่โจทก์หรือจำเลยทำมาหาได้ระหว่างนั้น  ไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดหาใช่ข้อสำคัญไม่  แต่ต้องถือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกัน  จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายและความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่งที่จะให้โจทก์และจำเลยมีส่วนในทรัพย์สินที่พิพาททั้งหมดคนละกึ่งหนึ่ง  พิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินทั้งสามแปลงนี้ให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง

 

            ในกรณีที่ชายมีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว  แต่มาได้หญิงอีกคนหนึ่งเป็นภริยาน้อยชายและภริยาน้อย  ร่วมกันทำมาหาได้ทรัพย์สินใดมา  ทรัพย์สินที่ได้มานี้เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายกับภริยาน้อย โดยภริยาน้อยมีส่วนครึ่งหนึ่ง  อีกครึ่งหนึ่งที่เป็นของชายเป็นสินสมรสชายกับภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย  แต่ถ้าภริยาน้อยไม่มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้  ทรัพย์สินที่ได้มาเป็นสินสมรสระหว่างชายกับภริยาหลวงทั้งหมด  เช่น  ชายกับภริยาน้อยร่วมกันทำการค้าได้กำไรไปซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง  หากจะต้องแบ่งที่ดินแปลงนี้ให้ภริยาน้อยครึ่งหนึ่งภริยาหลวงได้เศษหนึ่งส่วนสี่  และชายได้เศษหนึ่งส่วนสี่ เป็นต้น  การร่วมกันทำมาหาได้ทรัพย์สินนี้น่าจะไม่จำเป็นต้องร่วมกันทำการค้า  หรือดำเนินกิจการโดยเฉพาะเจาะจงแม้เพียงชายไปทำมาค้าขายโดยตนเอง  ส่วนภริยาน้อยเลี้ยงดูบุตรเป็นแม่บ้านอยู่รวมกันกับชายในบ้านหลังเดียวกัน  ก็อาจจะถือว่าร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นของชายและภริยาน้อยร่วมกันได้  แต่ทั้งนี้ชายและภริยาน้อยต้องมีถิ่นที่อยู่ต่างตำบลกันกับภริยาหลวงและมีทรัพย์สินอยู่ ณ ตำบลที่อยู่ของแต่ละคน  แสดงว่าได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดแล้ว  หากสามี ภริยา และภริยาน้อยอยู่ร่วมบ้านเรือนเดียวกันหรืออยู่บริเวณใกล้ชิดมีช่องทางเข้าออกถึงกันได้  ถือว่าภริยาน้อยเข้ามาอยู่ในครอบครัวของสามีในฐานะบริวารหรือนางบำเรอเท่านั้น  ภริยาน้อยไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในสินสมรสระหว่างสามีภริยาแต่อย่างใด

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือครอบครัว  โดยคุณประสพสุข  บุญเดช  ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 768

กรณี ชาย-หญิง อยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา โดยมีได้จดทะเบียนสมรส แต่ผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่ายรับรู้ ต่อมาฝ่ายชายกู้เงินและนำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อรถโดยโอนกรรมสิทธิ์เป็นของอีกฝ่ายหญิง ต่อมาฝ่ายหญิงตีตัวออกห่างและเลิกรา เมื่อฝ่ายชายที่กู้เงินทราบเรื่องจึงได้ทวงถาม และขอให้อีกฝ่ายหญิงชำระค่ารถที่ฝ่ายชายได้จ่ายไปโดยขอให้ทำเป็นสัญญาผ่อนชำระ แต่อีกฝ่ายหญิงไม่ยอมทำสัญญาแต่รับปากจะช่วยผ่อน โดยมิได้ปฏิเสธว่าเงินที่ซื้อรถเป็นเงินของฝ่ายชาย ซึ่งมีหลักฐานแค่ข้อความที่คุยกันใน facebook (ส่วนหลักฐานอื่นๆ คือ หลักฐานการโอนเงินจากบัญชีฝ่ายชายให้เต้นท์รถ) และปัจจุบันฝ่ายหญิงไม่ช่วยผ่อนชำระ ส่วนฝ่ายชายต้องรับผิดชอบเงินที่กู้มาพร้อมดอกเบี้ย จึงอยากเรียนถามว่ากรณีแบบนี้สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ


ขอบคุณคะ

โดยคุณ ขวัญ 3 ก.ย. 2562, 16:02

ความคิดเห็นที่ 767

ดิชั้น อยุ่คบกับแฟนมาไม่ได้จดทะเบียนกัน แต่ชั้นเปนฝ่ายหาเงินมมจุนเจือในบ้าน ต้องรูดบัตร ละก้อจ่ายเอา วนเวียนแบบนี้ หลายปี จนตอนนี้ไม่ได้จ่ายค่าบัตร ละยังมีการเอาทองไปจำนำ วนเวียนอยุ่แบบนี้ตลอดดวลา อีกทั้งยืมเพื่อนมา  ยืมแม่มา ก้อพยายามทะยอยใช้หนี้ แต่ใช้คนเดียว ละตอนนี้ แฟนหนีทิ้งภาระให้ ชั้นสามารถเอาเรื่องได้มั้ยคะ จากที่ดิชั้นมีเงินมีทองทุกอย่าง ละตอนนี้ เปนฟนี้เยอะมาก อีกทั้งเค้าขอยืม นานหลายปี ละเค้าอ้างว่า เราให้ด้วยความเสน่หา ควรทำยังไงดีคะ บ่าสุด เค้าให้เราไปเข่าห้อง ละเค้าบอกจะต่ายค่าห้องเอง ใฟ้เราจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ตอนนี้เค้าหนีออกไปอยุ่ที่อื่น และไม่ร่วมรับผิดชอบอะไรเลย ทั้งกุ้ซื้อมือถือ โอนใฟ้เราสองพัน แต่ขอยืมกลับไปหมด แบบนี้มานาน จะทำยังไงดีคะ ถึงจะให้เค้าช่วยชดใช้ได้

โดยคุณ Lakkana 6 ก.ค. 2562, 00:06

ความคิดเห็นที่ 766

กรณีที่แต่งงานแต่ไม่จดทะเบียนสมรส>>>ดิฉันมีคำถามค่ะ  1.ในกรณีที่มีหนังสือสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงระหว่างคนสองคนเป็นลายลักษณ์อักษร ว่าทรัพย์สินที่หามาร่วมกันยกให้ฝ่ายหญิงหากอีกฝ่ายชายทำผิดข้อตกลงในบันทึกหรือหนังสือสัญญาข้อใดข้อหนึ่งเช่น มีชู้ ติดการพนัน เป็นต้น สามารถทำได้ไหมคะ

โดยคุณ ภัทฆรานิธฐ์ อำพันธ์ศรี 24 ก.พ. 2562, 14:38

ความคิดเห็นที่ 765

เรียนผู้สมัคร


เราให้สินเชื่อแก่ บริษัท เอกชนและบุคคลทั่วไป คุณสามารถค้นหาข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเงินกู้ที่เราเสนอด้านล่าง ในการรับเงินกู้จาก บริษัท ของเรามีข้อมูลบางอย่างที่เราต้องส่งถึงคุณก่อนที่เราจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ อัตราดอกเบี้ย: ในจำนวนบริการของเราเราคิดดอกเบี้ยในอัตรา 2% จำนวนเงินขั้นต่ำ: 1,000.00 ถึงสูงสุด 100,000,000.00 ข้อมูลสำคัญ: สำหรับข้อมูลที่คุณต้องการคุณจะต้องกรอกแบบฟอร์มใบสมัครที่มีข้อมูลส่วนบุคคลของคุณและข้อมูลสินเชื่อซึ่งจะช่วยให้เราสามารถให้ข้อมูลที่คุณต้องการ สำเนาเงื่อนไขการกู้ยืมและข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ที่คุณคาดว่าจะลงนามและกลับไปที่ บริษัท เพื่อขออนุมัติหากพอใจ ส่งอีเมลถึงเรา: ([email protected])


ฉันจะใช้มันได้อย่างไร กรุณากรอกแบบฟอร์มใบสมัครด้านล่าง:


ใบสมัครเครดิต

ชื่อเต็ม:....................

ประเทศ:.....................

สถานะ:..............

เมือง:..............

เพศ:.........................

หมายเลขโทรศัพท์:...........

เงินกู้: ...........

รายได้ต่อเดือน: ..........

อาชีพ: ................... ....

ระยะเวลาการให้สินเชื่อ: ....................... ................

วัตถุประสงค์การให้สินเชื่อ: .........................

ที่อยู่อีเมล:...................... ................

คุณได้ใช้มันมาก่อนหรือไม่? ....................


เรากำลังรอใบสมัครด่วน

ส่งอีเมลถึงเรา: ([email protected])


ด้วยความเคารพ

โดยคุณ morrislaurence 8 ม.ค. 2562, 09:14

ความคิดเห็นที่ 764

อยู่กินกับสามีต่างชาติมา 6 ปี ได้ออกจากงานมาเป็นแม่บ้าน 4-5 ปี จนเค้าซื้อบ้าน
จัดงานแต่งงาน ผู้ใหญ่และญาติทั้ง 2 ฝ่ายรับรู้ จัดงานใหญ่เมื่อปีที่แล้ว
แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
ตอนนี้เค้าไล่เรา เรามีสิทธิได้ทรัพย์สินอะไรไหมคะ
โดยคุณ จุราพร ภักดี 18 ก.ค. 2561, 23:42

ความคิดเห็นที่ 763

น้องสาวคบหากับแฟนตั้งแต่เรียนปวสด้วยกัน2011-2018 จากนั้นย้ายไปอยู่บ้านฝ่ายชายฝ่ายชายไม่มีอะไรเลยตอนนั้น เรียนจบหางานทำจน ออกรถยนต์ด้วยกัน เอาเงินในบัญชีน้องน้องมาเป็นเงินดาวน์200,000บาท ทำห้องที่บ้านฝ่ายชาย หมดไปราวๆ50,000 บาท ซื้อวัว จำนวน 2ตัว ราคาประมาณ30,000บาท

ซื้อตู้เย็น โทรทัศน์ พัดลม ติดแอร์  สร้างที่จอดรถ 

ลงทุนเลี้ยงหมูด้วยกัน พอขายได้แต่ไม่เคยได้เงินพอถามเงินหมดแล้ว

ซือรถเครื่องราคาประมาณ25,000บาท 

ทางน้องสาวจึงย้ายที่ทำงานใหม่ต้องกลับมาอยู่บ้านตัวเอง 2558เกือบสินปี

หลังจากนั้น น้องสาวได้จับได้ว่าแฟนตัวเองได้แอบมีคนอื่น เมือ5 ปีที่แล้ว

ทะเลากัน แฟนน้องสาวพูดว่า เค้าคบน้องสาวเราเพราะ ถ้าคบคนอื่นคงไม่มีเหมือนทุกวันนี้ หน้าที่การงาน

เงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ มีครบทุกอย่าง 

จากนั้นน้องสาวจึงยืนขอเสนอ ให้แบ่งทรัพย์สินคนละครึ่ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม2561 เริ่มขาดการติดต่อจนถึง

วันที่ประมาณกลางเดือนแฟนน้องได้มาหาที่บ้านเพื่อมาบอกว่าตัวเองจะบวชแล้ว

แต่มาไม่เจอน้องสาว ภาพงานบวชได้ปรากฎ หญิงสาวคนหนึ่งซึ่งใกล้ชิด

ภาพปรากฎจาก เฟสบุ๊ค 

สามารถเรียกร้องอะไรได้ไหมคะ 


โดยคุณ เนา 23 มิ.ย. 2561, 14:45

ความคิดเห็นที่ 762

ขอสอบถามนะค่ะ  ดิฉันกับแฟนอยู่กินมากันมาโดยที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีลูก 2 คน ฉันกับแฟนช่วยกันทำงานหาเงิน มีเงินฝากธนาคารเป็นบัญชีร่วม มีทีดิน 12 ไร่เป็นชื่อร่วม มีรถยนต์ 2 คัน มีชื่อเป็นเจ้าของคนละคัน  สมบัติทุกอย่างหามาร่วมกัน ถ้าสมมุติว่าแฟนเสียชีวิตในส่วนของแฟน ยกให้เป็นของลูกได้มั้ย เพราะดิฉันกับแฟนเป็นคนหาทุกอย่างมา ไม่อยากยกในส่วนที่เป็นของแฟนให้ใคร  สามาถทำได้มัยค่ะ
โดยคุณ ศิริรัตน์ จุลพันธ์ 8 มิ.ย. 2561, 13:49

ความคิดเห็นที่ 761

อยากรบกวนสอบถามและปรึกษาค่ะ

     ดิชั้นมีแฟนคบหาและอยู่ด้วยกันมา 3ปี ไม่ได้แต่งงานหรือจดทะเบียนใดๆ เหมือนแฟนที่อยู่ด้วยกันทั่วไป เขาไม่มีทรัพย์สินหรือสมบัติใดๆมา มีแต่ของดิชั้นทุกอย่าง เขาไม่ได้ทำงานประจำใดๆ แต่ทำอาชีพรับจ้างทั่วไป ณ ตอนนี้ ดิชั้นคิดจะทำธุรกิจ โดยคุณพ่อและคุณแม่ดิชั้นเป็นคนลงทุนให้ทุกบาท แต่ชื่อเจ้าของธุรกิจคือดิชั้น รวมถึงสัญญาเช่าสถานที่และอื่นๆเป็นของดิชั้นหมด แล้วเหมือนเขาจะมาอยู่ที่ร้าน เหมือนจะไม่ทำงานอื่นแล้ว จะมาช่วยงานแต่เขาช่วยได้น้อยมาก ดิชั้นทำงานหนักอยู่คนเดียว จากการอ่านบทความข้างต้น แล้วเหตุนี้... ดิชั้นไม่ไว้ใจอะไร อยากจะคิดเผื่อไว้ว่า ถ้าเลิกกัน

1.ดิชั้นต้องแบ่งทรัพยืสินหรือธุรกิจให้เขาด้วยหรอคะ รู้สึกไม่ยุติธรรมค่ะ

2.สามารถจ่ายเป็นเงินเดือนประจำตามงานที่เขาทำ เพื่อแยกจากการมีส่วนร่วมเพราะได้รับเงินเดือนได้แล้วหรือไม่คะ
3.ดิชั้นพอจะทำอะไรได้บ้างคะ

ขอบพระคุณค่ะ

     

โดยคุณ ช่อการะเกด 3 พ.ค. 2561, 13:20

ความคิดเห็นที่ 760

#ขอสอบถามหน่อยค่ะ 


ดิฉันไม่ได้จดทะเบียนสมรส เขาพาดิฉันออกจากบ้านมาอยู่กินเกือบ 1 ปี โดยเช่าห้องที่คอนโดแห่งหนึ่งไว้ ได้ทำสัญญาการเช่า โดยเปนชื่อดิฉัน ทีนี้เขามีคดีความ ตำรวจขึ้นมาค้นห้อง ล้ะของมีค่าฉันหายไปพร้อมกับตำรวจ รวมๆแล้ว มูลค่า 4-5 หมื่นแต่จับมือใครดมไม่ได้ว่า คนไหนเอาไป  แฟนดิฉันบอกว่าจะชดใช้คืนให้แทนตำรวจ เพราะเขาบอกดิฉันไม่ควรที่จะเดือดร้อนไปด้วย ทีนี้เขาไปมีคนใหม่ เขาเลิกกับฉัน ฉันไม่เหลืออะไรแล้ว ค่าเสียหายในห้อง ฉันต้องหาเงินมารับผิดชอบ ค่าสัญญาห้องก้อต้องถูกริบไปฟรีๆ ดิฉัน สามารถเรียกร้องอะไรจากฝ่ายชายได้มั้ยค่ะ อยากให้เขามาช่วยกันรับผิดชอบบ้าง ไม่ใช่ทิ้งดิฉัน ล้ะยังหนีปัญหา

โดยคุณ HK 12 มี.ค. 2561, 18:39

ความคิดเห็นที่ 759

จากบทความข้างต้น อยากทราบว่าได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาฎีกาที่ 83/2512 ที่วินิฉัยว่าแม้ภรรยาเป็นแม่บ้าน ทรัพย์สินที่ได้มารหว่างอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภรรยา ทรัพย์สินนั้นก็เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างสามีและภรรยา แล้วหรือไม่ อย่างไรครับ ขอบคุณครับ

โดยคุณ ira 4 มี.ค. 2561, 21:30

ความคิดเห็นที่ 758

สอบถามครับ  1.ไม่ได้จดทะเบียน

2.ไม่ได้ไปสู่ขอ 3.ฝ่าหญิ่งไม่มีอะไรติดตัวมา 4.ผู้ใหญ่ทั้ง2ฝ่ายไม่ค่อยได้คุยกัน(ไม่ได้ทเละกัน) อยู่กินกันมา5ปี ทำกิจการ จนมีเงินมีฐานะ ผมให้ดูเเลเรื่องบัญชีเรื่องเงิน

ต่อมาเธอบอกว่าเงินหมดบัญชี แล้วเราเลิกกัน แต่ผมพบว่าเธอเอาเงินไปยักย้าย

ในบัญชีชื่อเธอ2บัญชีผมไม่รู้และยังมีเงิน


ผมจะดำเนินการอะไรได้ครับ

 ปล. ฝ่ายผู้ใหญ่มาทราบที่หลังว่าคบกัน

กิจการผมทำมาก่อนคบกัน

โดยคุณ อมรพล 17 ม.ค. 2561, 02:50

ความคิดเห็นที่ 757

สวัสดีค่ะ.ดิฉันมีเรื่องจะขอสอบถามค่ะ

 แม่ของดิฉันและพ่อเลี้ยงอยู่กินฉันสามีภรรยามาสิบปีกว่าแล้วมีลูกด้วยกันสองคน ยังเรียนอยู่ทั้งคู่ แต่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ตอนที่มาอยู่ด้วยกันใหม่ๆแม่ของดิฉันนั้นได้ทำเรื่องกู้เงินซื้อที่สวนทุเรียนมาก่อนแล้ว และกำลังจะหมดหนี้ พ่อเลี้ยงของดิฉันไม่ได้มีทรัพย์สินอะไรมากนัก มีเป็นที่ดินเสื่อมโทรม พอพ่อเลี้ยงเข้ามาก็ช่วยลงแรงทำสวนทุเรียนที่มีแต่เดิมแล้วนั้น แล้วปลดหนี้หมดแล้วได้นำเงินส่วนที่เป็นรายได้จากสวนทุเรียนไปลงทุนปลูกยางพาราบนที่ดินเสื่อมโทรมของพ่อเลี้ยง และเก็บผลประโยชน์จากยางมาตลอด จากนั้นพ่อเลี้ยงก็อยากได้อาคารพานิชย์โดยตัวพ่อเลี้ยงนั้นมีเงินแค่หนึ่งแสนบาท แม่ของดิฉันได้ปรึกษาคุณตาและคุณตาให้เงินมาสมทบอีกสองแสน เพื่อดาวน์บ้านและแม่ดิฉันเป็นคนกู้และคนผ่อนชำระโดยการตัดบัญชีชื่อแม่ พ่อเลี้ยงมีชื่อเป็นคนค้ำ จากนั้นพอผ่อนบ้านหลุดโดยเงินที่ผ่อนบ้านนั้นมาจากสวนทุเรียนที่อยู่ปัจจุบัน แล้วก็ได้ซื้อรถขุดแบคโฮ อีกหนึ่งคันโดยมีแม่ดิฉันเป็นผู้กู้ ผู้ชำระตัดผ่านบัญชีและพ่อเลี้ยงเป็นคนค้ำอีกเช่นกัน แต่รถขุดนี้ยังผ่อนไม่หมด และพ่อเลี้ยงได้ไปทำงานนอกบ้านพอกลับมาก็เกิดปัญหาขึ้นเพราะเขาไม่พอใจที่ไม่ได้เป็นผู้ควบคุมบัญชีรับจ่ายภายในบ้าน เลยต้องการที่จะเลิกรากับแม่ของดิฉัน พ่อเลี้ยงจะเอารถขุคแบคโฮ ไปทำกิน และไม่ยอมให้แม่ของดิฉันเก็บผลประโยชน์จากยางพาราบนที่ดินของพ่อเลี้ยง แม่ดิฉันจึงยื่นข้อเสนอว่าถ้าหากพ่อเลี้ยงจะเอารถขุดเเบคโฮแม่ก็จะเก็บผลประโยชน์จากยาง แต่ถ้าพ่อเลี้ยงไม่ให้เก็บผลประโยชน์จากยางแม่ก็จะเอารถขุดไว้ แต่พ่อเลี้ยงไม่ยอม เพราะถือว่าที่ของเขา รถเขามีชื่อเป็นผู้ซื้อ(แต่ผู้กู้และผู้ผ่อนจ่ายเป็นชื่อแม่ดิฉัน) ถ้าหากไม่ยอมพ่อเลี้ยงขู่จะตั้งทนายมาฟ้องแล้วแม่ดิฉันจะเสียทุกอย่างไป 

ดิฉันรบกวนสอบถามว่า

 1 "ในกรณีนี้ ทรัพย์สินทุกอย่างที่มันงอกเงยมาจากที่ดินทำกินของแม่ดิฉันนี้ จะต้องแบ่งครึ่งหมดทุกสิ่งเลยใช่หรือไม่ แล้วจะมีวิธีการใดที่จะทำให้ไม่โดนเอาเปรียบบ้าง เพราะในความรู้สึกของแม่ดิฉัน เขาไม่ได้ทำอะไรผิด ไม่ได้บกพร่องต่อหน้าที่แม่และภรรยาแต่อย่างใด

 2 " ในกรณีที่มาของทรัพย์สินทั้งหมดนี้ งอกเงยมาจากที่ดินของแม่ ทุเรียนเก่าแก่ที่ปลูกไว้ตั้งแต่รุ่นปู่ย่า แต่เพราะมีปัญหาพ่อของดิฉันเสีย ปู่จึงต้องการเงินเพื่อแลกกับการที่แม่ของดิฉันจะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินทำกินผืนนี้เพื่อเลี้ยงดูดิฉันและน้องต่อ พ่อเลี้ยงเข้ามาช่วยบริหารจัดการเท่านั้น เงินลงทุนทั้งหลายทั้งปวง แม่ของดิฉันเป็นผู้กู้ยืมทั้งหมด แล้วแบบนี้ทรัพย์สินนั้นยังถือว่าหามาด้วยกันหรือไม่ 

 3 " พ่อเลี้ยงบอกว่าถ้าไม่ยอมให้เขาดีๆหรือดึงดันที่จะแบ่งสวนยางหรือรถขุดต่อไปแม่จะต้องเสียทุกอย่าง อย่างละครึ่งใช่หรือไม่คะ

 4 " แม่ดิฉันจะมีสิทธิ์ในการร้องขอให้พ่อเลี้ยง จ่ายเงินค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่คะ เพราะลูกของพ่อเลี้ยงกับแม่ของดิฉันสองคนยังเรียนอยู่ทั้งคู่ 

 5 " บุตรที่เกิดนอกสมรส เป็นสิทธิ์ของแม่หรือไม่คะ 

   รบกวนด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

โดยคุณ ฐานิตา ลี 3 ม.ค. 2561, 22:57

ความคิดเห็นที่ 756

รบกวนปรึกษาค่ะ

ดิฉันไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับแฟน แต่คบหากันและอยู่ด้วยกันมา 8 ปี กว่า แล้วมีเหตุให้ต้องเลิกรากันในช่วงปลายปี 2559

โดยปัญหามีดังนี้

   1. ในปี 2558 ดิฉันและแฟน ได้ตกลงซื้อบ้าน 1 หลัง ร่วมกัน โดยที่มีแฟนเป็นผู้กู้หลัก และดิฉันเป็นผู้กู้ร่วม โดยก่อนหน้านั้นมีทรัพย์สินอื่นๆที่หาร่วมกัน รวมอยู่ในบ้านหลังนั้นด้วย

   2. มีหนี้บัตรเครดิตเป็นชื่อดิฉัน โดยจำนวนหนี้หนี้ที่เกิด คือ ประมาณ 3 หมื่นกว่าบาท โดยแยกดังนี้

        2.1 กดเงินสดเพื่อให้ทางแม่ฝ่ายชายจำนวน 10,000 บาท 

        2.2 บางส่วนกดเงินสดนำมาใช้จ่ายร่วมกัน 

โดยตั้งแต่เลิกรากันไปดิฉันเป็นผู้รับผิดชอบชำระหนี้สินบัตรเครดิตแต่เพียงผู้เดียว 


ดังนั้นจึงขอรบกวนปรึกษาดังนี้

      กรณีที่ 1 การกู้ร่วมกันซื้อบ้านเมื่อดิฉันเลิกรากัน ฝ่ายชายไม่ยินยอมที่จะขายบ้าน โดยได้ตกลงกันว่าจะชำระเงินบางส่วนคืนให้ดิฉัน โดยคิดเป็นจำนวนที่เริ่มผ่อนกับธนาคาร จนถึงเดือนสุดท้ายที่ผ่อนกับธนาคาร ก่อนที่ดิฉันจะออกจากบ้านหลังนั้น / 2 เป็นจำนวนที่ต้องคืนดิฉัน 43,000 บาท

      กรณีที่ 2 หนี้บัตรเครดิต ฝ่ายชายตกลงจะรับผิดชอบหนี้บางส่วน เป็นจำนวน 26,000  บาท


โดยยอดทั้งหมด 69,000 บาท ได้มีการหักหนี้ที่แม่ดิฉันได้หยิบยืมมาจากแม่ของฝ่ายชายโดยที่ดิฉันไม่ทราบเรื่องออกจำนวน 20,000 บาท จึงเหลือหนี้ที่ตกลงกันว่าจะชำระคืนดิฉันอีกเพียง 49,000 บาท


      ฝ่ายชายได้คืนเงินมาเพียงแค่ 13,000 บาท และไม่มีการคืนหรือติดต่อจะคืนอีกโดยอ้างเพียงแค่ไม่มี และมีบุคคลที่ 3 มาเกี่ยวข้องคือภรรยาใหม่ของฝ่ายชาย ได้แจ้งว่า ไม่มี และแจ้งกับดิฉันว่าอยากได้ให้ไปฟ้องร้องเอา


     ดิฉันจึงอยากทราบว่า จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างคะ จึงเรียนมาเพื่อขอความกรุณาปรึกษาค่ะ 


โดยคุณ อัญชลี 23 ธ.ค. 2560, 18:57

ตอบความคิดเห็นที่ 756

มีแค่ข้อความที่คุยกันค่ะ ว่าจะคืน 

ถ้าไม่ได้ทำหนังสือสามารถมีแนวทางไหนที่จะทำให้ได้เงินคืนบ้างคะ 


ทั้งนี้ชื่อในหลังโฉนดก็ยังเป็นชื่อของดิฉันและแฟนเก่า สอบถามไปทางเค้าเองปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการอะไรเลย ที่จะนำชื่อดิฉันออกจากโฉนด ในส่วนนี้ดิฉันพอจะทำอย่างไรได้บ้างคะ


รบกวนขอความกรุณาให้คำปรึกษาและแนะนำค่ะ



โดยคุณ อัญชลี 2 ก.พ. 2561, 00:27

ตอบความคิดเห็นที่ 756

ได้มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรไหมครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 30 ม.ค. 2561, 14:12

ความคิดเห็นที่ 755

สวัสดีครับ

ผมขอปรึกษาหน่อยครับ

คือพ่อของผมได้เลิกกับแม่ของผมครับแต่ยังไม่ได้หย่า ประมาณ10กว่าปีต่างคนต่างมีใหม่

แล้วที่นี้พ่อกับแม่คืนดีกันครับ แต่เมียใหม่พ่อไม่ยอมทั้งที่ทรัพย์สินต่างๆพ่อก็หาให้เยอะมาก

พ่อขอแค่รถคันเดียว แต่เค้าจะไม่ยอมให้พ่อเอา

ทรัพย์สินแม้แต่อย่างเดียวให้ไปแต่ตัวเปล่า เขาบอกเขาไม่ได้ไล่พ่อไปเอง

แบบนี้เราสามารถฟ้องได้ไหมครับ

ผมขอรบกวนแค่นี้ครับผม

ขอบคุณครับ

โดยคุณ กฤษณะ ชินจักร์ 14 พ.ย. 2560, 20:57

ตอบความคิดเห็นที่ 755

1.หากยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า การสมรสก็ยังไม่ถือว่าสิ้นสุด ถือว่าเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายกันอยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501

2.ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้ ทั้งนี้ตาม มาตรา 1523 วรรคสอง

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 27 ธ.ค. 2560, 14:33

ความคิดเห็นที่ 754

สวัสดีค่ะ

  รบกวนด้วยค่ะ..พอดีดิฉันแต่งงานกับสามีมา20ปีแล้วมีบุตร2คนแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ปัญหาคือดิฉันจับได้ว่าสามีนอกใจ

สามีมีรถ1คันชื่อสามี  แต่ดิฉันคนค้ำ  เราสามารถเแบ่งทรัพย์สินตัวนี้ได้ไหมมีวิธีไหนค่ะช่วยแนะนำด้วยสามีเป็นคนผ่อนนะค่ะแต่ดิฉันเป็นคนดาวน์รถนะค่ะและเราสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้างค่ะรบกวนด้วยนะค่ะ

โดยคุณ เปิ้ล 23 ต.ค. 2560, 19:16

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก