บริษัทนักสืบ/การให้บริการ/สืบทุจริตในองค์กร
ความหมายของการทุจริตภายในองค์กร(มุมมองของบริษัทนักสืบเอกชน)
- “สุจริต” หมายถึง การกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย/หรือรับผิดชอบ เพื่อประโยชน์ขององค์กร /มีความสมเหตุสมผล และมิได้มีการฝ่าฝืนกฎระเบียบ/กฎหมาย/ศีลธรรมอันดีของประชาชน/และผู้กระทำมิได้กระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่นด้วยกฎหมาย
- ยกตัวอย่างเช่น เป็นพนักงานจัดซื้อจัดจ้าง มีหน้าที่ในการสั่งซื้อสินค้ามาใช้งานในบริษัท ตามคำสั่งของบริษัท แต่เรียกบริษัทพรรคพวกตัวเองมาเสนอราคา ซึ่งตนเองมีส่วนได้เสียจากการสั่งซื้อสั่งจ้าง โดยอาจได้ค่าตอบแทนเป็นเงิน/หรือสิ่งของหรือมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน/รวมทั้งสินน้ำใจต่าง ๆ เช่น เงินค่าเอ็นเตอร์เทนเป็นต้น
- ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1) “โดยทุจริต” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
- ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
- แนววินิจฉัยศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5233/2549
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และไม่ได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์ที่ได้สุรา4 ขวด มาจากคู่ค้าของจำเลย เพราะโจทก์เรียกรับเอาเองในขณะที่โจทก์มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของจำเลย อันเป็นตำแหน่งที่อาจเอื้อประโยชน์หรือให้คุณให้โทษต่อคู่ค้า คู่ค้าจึงอาจเกรงใจ จำยอมหรือยอมให้โดยไม่ได้สมัครใจอย่างแท้จริง จึงเป็นความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ตามมาตรา 119 (1) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
- ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 บัญญัติว่า “ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต”
- ต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
- เกิดขึ้นภายในองค์กร/หรือมีผลกระทบต่อองค์กร
- โดยคนภายในองค์กรหรือบุคคลภายนอกร่วมมือกับบุคคลภายในองค์กรเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายในองค์กร หรือของบุคคลภายนอกองค์กร
- ยกตัวอย่างเช่น พนักงานฝ่ายขายของบริษัท ร่วมมือกับตัวแทนจำหน่าย ในการทำคำสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท โดยอาศัยเครดิตของตัวแทนจำหน่าย และเมื่อได้สินค้าพนักงานขายนำไปขายให้กับลูกค้าและนำเงินส่วนต่างหรือผลกำไรมาแบ่งกันระหว่างพนักงานขายกับตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
ลางบอกเหตุการทุจริตภายในองค์กร (มุมมองของบริษัทนักสืบเอกชน)
- ความผิดปกติเกี่ยวกับนโยบายขององค์กรที่ไม่สมเหตุสมผล
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมของพนักงานในองค์กร
- ความผิดปกติของยอดขายหรือคำสั่งซื้อที่ขึ้นหรือลงอย่างผิดสังเกต
- ความผิดปกติเกี่ยวกับหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ความผิดปกติของค่าใช้จ่ายภายในบริษัทที่เพิ่มขึ้นโดยไม่สมเหตุสมผล
- ความผิดปกติของคู่แข่งทางการค้า
- ความผิดปกติของตัวแทนจำหน่าย
- เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
เทคนิคการป้องกันการทุจริตภายในองค์กร (มุมมองของบริษัทนักสืบเอกชน)
- สร้างบรรยากาศการทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้
- ผู้บริหารต้องเป็นต้นแบบในการทำงานแบบโปร่งใส
- ปลูกฝังเรื่องจริยธรรมให้กับพนักงานในองค์กร
- การคัดสรรบุคลากรเข้าสู่องค์กร
- การวางมาตรฐานที่ชัดเจนในการจัดซื้อจัดจ้าง
- การตรวจสอบการทำงานของพนักงานอย่างต่อเนื่อง/สม่ำเสมอ เช่น ศูนย์ซ่อมรถยนต์หรือโชว์รูมรถยนต์ เมื่อลูกค้าซ่อมรถยนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้าจะโทรศัพท์เข้ามือถือของผู้ใช้บริการทันทีเพื่อตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า
- งดการสั่งงานด้วยวาจา/การใช้ดุลพินิจในการทำงาน
- สร้างแบบฟอร์มการสั่งงาน/การทำงานที่เป็นมาตรฐาน
- ตรวจสอบรายรับรายจ่ายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- ให้ความสำคัญกับเรื่องร้องเรียนทุกเรื่อง
- สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมของพนักงาน
- การทำงานในรูปคณะกรรมการในกรณีเป็นเรื่องสำคัญ
- การจัดทำคู่มือการทำงานที่มีมาตรฐาน
- การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ครอบคลุม
- การปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วไปเกี่ยวกับข้อห้ามหรือข้อควรปฏิบัติของพนักงาน
- การติดสติกเกอร์ระบุหมายเลขโทรศัพท์ให้ลูกค้าร้องเรียนได้ง่าย
- การระบุหรือประกาศคำเตือนลูกค้าที่ใช้บริการ
- การติดตั้งกล้องวงจรปิด
- การจัดจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย
- การติดตั้งตู้แดงของตำรวจ
- การติดตั้งระบบGPSในรถยนต์ของพนักงาน
เทคนิคการแก้ไขปัญหาเมื่อพบการทุจริตภายในองค์กร (มุมมองของบริษัทนักสืบเอกชน)
- วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารว่ามีมูลเพียงใด
- รวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นในทางลับ
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือทนายความ
- สืบสวนหาพยานหลักฐานให้ครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย
- ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย
- การดำเนินคดีอาญา
- การดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการทุจริตภายในองค์กร
- การดำเนินคดีแรงงานกับพนักงานหรือลูกจ้างที่ทุจริต
- การดำเนินคดีกับบุคคลภายนอกที่ร่วมมือกับลูกจ้างในการทุจริต
กฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตภายในองค์กร (มุมมองของบริษัทนักสืบเอกชน)
- ตัวการร่วมในการกระทำความผิด
- ผู้สนับสนุน
- ผู้จ้างวานใช้
- ความผิดฐานฉ้อโกง
- ความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง
- ความผิดฐานยักยอกทรัพย์
- ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
- ความผิดทางคอมพิวเตอร์
- ความผิดตามกฎหมายอื่น ๆ ที่มีบทลงโทษทางอาญา
- อายุความในการดำเนินคดีอาญา
ผลกระทบสำหรับผู้ให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (มุมมองของบริษัทนักสืบเอกชน)
- ถูกดำเนินคดีหมิ่นประมาท
- ถูกดำเนินคดีฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ นำสืบเท็จ
- ถูกข่มขู่ว่าจะทำอันตรายแก่ร่างกายหรือชีวิตหรือเสรีภาพ หรือชื่อเสียง
- มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานในองค์กร
ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (มุมมองของบริษัทนักสืบเอกชน)
- ความยากในการหาพยานหลักฐาน
- ความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม
- เป็นเรื่องยากในการติดตามเอาทรัพย์คืน
การใช้บริการนักสืบในการค้นหาพยานหลักฐานประกอบการดำเนินคดีทุจริต (มุมมองของบริษัทนักสืบเอกชน)
- นักสืบมีหลายประเภทและมีความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน
- การจ้างนักสืบจะต้องจ้างสำนักงานที่มีชื่อเสียงและมีผลงานและมีความซื่อสัตย์
- ต้องกำหนดหัวข้อหรือประเด็นหรือหลักฐานที่ต้องการให้ชัดเจน
- การให้นักสืบเป็นพยานในชั้นศาลต้องตกลงกันล่วงหน้าก่อนจ้าง
ตัวอย่างคดีทุจริต
คดีที่ 1
ประเภทของการทุจริต
พนักงานร่วมกับบริษัทกำจัดขยะขโมยลูกอมหมดอายุไปขายต่อทางภาคอีสาน
วิธีการทุจริต
พนักงานขับรถขนสินค้าหมดอายุร่วมมือกับพนักงานของโรงงานกำจัดขยะและรปภ.ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบขยะที่จะต้องทำลายทั้งเข้าและออกโกดังเก็บขยะ ระหว่างทางนำขยะไปทำลายที่จังหวัดสมุทรสาคร แต่ได้ร่วมกันลักลอบนำขยะลูกอมหมดอายุไปซุกซ่อนบริเวณใกล้เคียงโรงงาน หลังจากนั้นให้ผู้รับซื้อมารับสินค้าในช่วงเวลาที่ลับตาคน
ความเสียหาย
ประมาณหลายสิบล้านบาท
คดีที่ 2
ประเภทของการทุจริต
ผู้จัดการฝ่ายคลังสินค้าร่วมกับพนักงานและรปภ.ลักลอบนำสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าไปจำหน่าย
วิธีการทุจริต
ผู้จัดการฝ่ายคลังสินค้าร่วมมือกับพนักงานดูแลสต๊อกสินค้า และพนักงานส่งสินค้า ลักลอบขนสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าออกไปขาย โดยใช้โอกาสในช่วงที่จัดเตรียมเพื่อส่งให้ลูกค้า และรปภ.ได้ร่วมมือด้วย โดยให้รถขนสินค้าผ่านออกไปได้
ความเสียหาย
ประมาณหลายสิบล้านบาท
คดีที่ 3
ประเภทของการทุจริต
พนักงานขับรถเทรลเลอร์ได้ลักลอบขนถ่ายน้ำมัน
วิธีการทุจริต
พนักงานขับรถเทรลเลอร์ ได้ลักลอบดูดน้ำมันในถังน้ำมันของรถ ออกขายระหว่างทาง เนื่องจากเป็นระยะทางไกล แล้วนำไปขายให้กับปั้มหลอด และชาวยางเพื่อนำไปใช้ในการใส่เครื่องยนต์
ความเสียหาย
ประมาณหลายล้านบาท
คดีที่ 4
ประเภทของการทุจริต
พนักงานเปิดบริษัทของตัวเองทำธุรกิจเดียวกับนายจ้าง
วิธีการทุจริต
พนักงานขายของบริษัท เปิดกิจการของตัวเองทำธุรกิจประเภทเดียวกับนายจ้าง ได้นำลูกค้าของนายจ้างมาเป็นของตัวเอง
ความเสียหาย
ประมาณหลายสิบล้านบาท
คดีที่ 5
ประเภทของการทุจริต
พนักงานฝ่ายการตลาดนำความลับเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าไปขายให้กับคู่แข่ง
วิธีการทุจริต
พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทซึ่งทราบแผนการตลาดและกลยุทธ์การตลาดของในอนาคตของบริษัท ซึ่งมีการวางแผนการตลาดไว้ ได้นำกลยุทธ์ดังกล่าวไปขายให้กับบริษัทคู่แข่ง และทำให้บริษัทคู่แข่งออกกลยุทธ์การตลาดนี้มาก่อน
ความเสียหาย
ประมาณหลายสิบล้านบาท
คดีที่ 6
ประเภทของการทุจริต
พนักงานขายใช้ชื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าของนายจ้างแล้วนำไปจำหน่าย
วิธีการทุจริต
พนักงานฝ่ายขายของบริษัท ได้ใช้ชื่อลูกค้าที่เปิดบัญชีเครดิตไว้กับบริษัท แอบอ้างสั่งซื้อสินค้าในนามของลูกค้า แล้วไปรับสินค้าไปจำหน่ายเอง โดยไม่นำเงินมาชำระค่าสินค้า โดยที่ลูกค้าไม่ทราบเรื่องการกระทำดังกล่าว
ความเสียหาย
ประมาณหลายสิบล้านบาท
คดีที่ 7
ประเภทของการทุจริต
พนักงานฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างได้ใช้ชื่อบุคคลภายนอกเข้าประมูลรับงานของบริษัท
วิธีการทุจริต
พนักงานฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างที่ทราบเรื่องการสั่งจ้างงานของบริษัท และรู้ระเบียบการในการสั่งจ้างงาน ได้ใช้ชื่อบุคคลอื่นเปิดบริษัท เพื่อนำมาประมูลรับงานดังกล่าว โดยการบริหารงานของพนักงานเอง
ความเสียหาย
ประมาณหลายร้อยล้านบาท