ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิขายทรัพย์มรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2563
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายย่อมเป็นตัวแทนของทายาทในการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย การที่จำเลยที่ 1 ไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดก แล้วจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้ตนเองในฐานะส่วนตัว โดยจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้รับประโยชน์จากพินัยกรรมและเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก การกระทำของจำเลยที่ 1 มิใช่การแบ่งปันทรัพย์มรดกตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก แต่เป็นการทำนิติกรรมให้จำเลยที่ 1 มีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักส์ต่อกองมรดกของผู้ตาย อันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 การโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกกับในฐานะส่วนตัวจึงตกเป็นโมฆะ ต้องถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนที่ดินขึ้นเลย เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวไม่มีกรรมสิทธิ์ก็ไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ การที่จำเลยที่ 2 รับซื้อไว้ไม่ทำให้เกิดสิทธิตามสัญญาซื้อขายตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
#ทนายคลายทุกข์ #ผู้จัดการมรดก #ทนายเดชา #ที่ดิน
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470, 081-6252161