คู่สมรสไม่ได้ให้สัตยาบันในการกู้ ไม่ต้องรับผิด|คู่สมรสไม่ได้ให้สัตยาบันในการกู้ ไม่ต้องรับผิด

คู่สมรสไม่ได้ให้สัตยาบันในการกู้ ไม่ต้องรับผิด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คู่สมรสไม่ได้ให้สัตยาบันในการกู้ ไม่ต้องรับผิด

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4218/2563

บทความวันที่ 23 มิ.ย. 2566, 10:30

มีผู้อ่านทั้งหมด 1259 ครั้ง


คู่สมรสไม่ได้ให้สัตยาบันในการกู้ ไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4218/2563

    จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้จากโจทก์ มีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 3 ทำหนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสในการทำนิติกรรมทุกประเภทของจำเลยที่ 2 การที่โจทก์กล่าวอ้างว่าการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นผลให้จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในหนี้อันคู่สมรสได้ก่อขึ้นเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส เท่ากับถือว่ากรณีเช่นนี้อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 1490 ที่บัญญัติว่า หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้... (4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน การให้ความยินยอมของคู่สมรสในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสอยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 1476 ที่กำหนดให้เฉพาะการจัดการสินสมรสที่มีความสำคัญตามมาตรา 1476  (1) ถึง (8) ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย ในส่วนที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 หาได้อยู่ในบังคับมาตรา 1476 หรือเป็นการจัดการสินสมรสโดยตรงไม่ กรณีจะเป็นหนี้ร่วมต่อเมื่อจำเลยที่ 3 คู่สมรสได้ให้สัตยาบันตามมาตรา 1490 (4) เท่านั้น แต่การที่จำเลยที่ 3 คู่สมรสให้ความยินยอมในการทำนิติกรรม ตามหนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสในการทำนิติกรรมที่ข้อความระบุว่า คู่สมรสขอให้ความยินยอมต่อการที่คู่สมรส ทำคำขอ สัญญา ข้อตกลงเกี่ยวกับการขอใช้สินเชื่อทุกลักษณะหรือนิติกรรมใด ๆ กับโจทก์ อันมีลักษณะเป็นการให้ความยินยอมไว้เป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นการแสดงเจตนารับรู้ที่จำเลยที่ 2 สามีไปทำนิติกรรม หาใช่เป็นการให้สัตยาบันตามนัยของบทบัญญัติ มาตรา 1490 (4) ไม่ เนื่องจากไม่มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แต่อย่างใดว่า จำเลยที่ 3 รับรองการที่จำเลยที่ 2 ก่อหนี้ขึ้นแล้วตามมูลหนี้ที่มีการทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 คงปรากฏเฉพาะการที่จำเลยที่ 3 รับรู้ถึงการเข้าทำสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้สัตยาบันการก่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 คู่สมรสได้กระทำไป จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ฎีกาของจำเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7
#ทนายคลายทุกข์  #หนี้สินของคู่สมรส #สินสมรส #ค้ำประกัน
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470, 081-6252161 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

I found this post very interesting and informative. Thank you for sharing your special thoughts with us. My site:

โดยคุณ american football 4 ก.ค. 2566, 13:58

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก