ปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง
ทนายคลายทุกข์ขอนำปัญหาการรังวัดสอบเขตที่ดินข้างเคียง
ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในต่างจังหวัด ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 69 ทวิ
มานำเสนอว่า กรณีมีปัญหาเรื่องเนื้อที่ไม่ตรงกัน ติดต่อข้างเคียงไม่ได้หรือมีการคัดค้านหรือมีการฟ้องร้อง
จะต้องทำอย่างไร
ในการรังวัดสอบเขต
ถ้าปรากฏว่าการครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หรือเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจแก้ไขแผนที่หรือเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้ตรงกับความเป็นจริงได้
เมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองแนวเขตแล้ว
เว้นแต่เป็นการสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย เช่น แบ่งขาย หรือแลกเปลี่ยนกันเอง
โดยไม่จดทะเบียนเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม
กรณีต้องให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงลงชื่อรับรองเขตก่อน
ถึงจะแก้ไขได้ ถือเป็นหลักทั่วไป เป็นการคุ้มครองสิทธิทุกฝ่าย แต่ก็มีข้อยกเว้นในวรรคสาม
วรรคสาม
วิธีปฏิบัติในกรณีข้างเคียงไม่ได้รับรองแนวเขต
วรรคสามนี้
เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ ขอแยกสาเหตุที่ไม่ได้มีการลงชื่อรับรองแนวเขตไว้ 3
กรณี และอธิบายควบกับวรรคสี่
เพราะต่อเนื่องกัน ดังนี้
1)
ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตได้
กรณีนี้
หมายความว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงไประวังชี้รับรองเขตอยู่แล้ว
(ดูมาตรา 70) แต่ปรากฏว่าไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงรายนั้นได้
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะได้ย้ายภูมิลำเนาจากที่อยู่เดิม แล้วไม่ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบ
หรือยังอยู่ที่เดิมแต่ไปรษณีย์นำจ่ายไม่ได้ เช่น ไม่มีผู้รับ หรืออยู่นอกเขตจ่าย
เป็นต้น
2)
ติดต่อได้ แต่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงไม่มาระวังแนวเขต
3)
ติดต่อได้ และผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงมาระวังแนวเขต แต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขต
โดยไม่ได้คัดค้านการรังวัด
ในสาเหตุหนึ่งเหตุใดใน
3 กรณี ดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมอีก ดังนี้
(1)
กรณีติดต่อได้ แต่ข้างเคียงไม่มาระวังแนวเขตหรือติดต่อได้ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้มาระวังแนวเขตแต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขต
โดยไม่คัดค้านการรังวัด ตาม (2) และ (3) ทั้ง 2
กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นมาลงชื่อรับรองเขต
หรือคัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ ?ส่ง? หนังสือแจ้ง โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยัง
ตามที่อยู่ที่เคยติดต่อหรือตามที่อยู่ที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นได้แจ้งเป็นหนังสือไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
(2)
ในกรณีที่ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตได้ (ตาม 1)
กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องทำหนังสืออีกครั้งแจ้งให้ผู้นั้นมารับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัดภายใน
30 วัน โดยปิดหนังสือแจ้งฉบับนั้นไว้ในที่เปิดเผย ณ
บริเวณที่ดินของข้างเคียงรายนั้น
และที่ว่าการเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่อันเป็นที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้น
แห่งละ 1 ฉบับ พร้อมกับส่งหนังสือแจ้งนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังเจ้าของที่ดินข้างเคียงรายนั้นตามที่อยู่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามได้ความจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น
หรือถ้าสอบถามแล้วก็ยังไม่ทราบ ก็ให้ส่งไปยังที่อยู่ตามที่อยู่ที่ปรากฏหลักฐานที่สำนักงานที่ดิน
เมื่อดำเนินการมีหนังสือแจ้งไปอีกครั้ง
หรือปิดประกาศ ตาม (1) และ (2) แล้ว แต่กรณีแล้ว
ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงรายนั้นไม่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
คือมารับรองเขตหรือคัดค้านแนวเขตภายใน 30 วัน
และผู้ขอสอบเขตได้ให้คำรับรองว่ามิได้ทำการรังวัดรุกล้ำที่ดินข้างเคียง
และยินยอมให้แก้ไขรูปแผนที่หรือเนื้อที่ตรงกับความเป็นจริง
หากปรากฏในภายหลังว่าแผนที่หรือเนื้อที่ที่แก้ไขใหม่นั้นไม่ถูกต้อง
ก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการแก้ไขรูปแผนที่หรือเนื้อที่ โดยไม่ต้องมีการลงชื่อรับรองแนวเขต
วรรคสี่
?การติดต่อหรือการแจ้งข้างเคียงผู้มิสิทธิในที่ดินข้างเคียงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง?
(ได้แก่
ฉบับที่ 31 ได้นำสาระสำคัญมารวมไว้ในวรรคสามแล้ว)
วรรคห้า
ในการรังวัดสอบเขต ถ้าปรากฏว่ามีผู้คัดค้าน
ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจสอบสวนไกล่เกลี่ยโดยให้ถือหลักฐานแผนที่เป็นหลักในการพิจารณา
ถ้าตกลงกันไม่ได้
ให้แจ้งคู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง
ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ขอไม่ประสงค์จะสอบเขตโฉนดที่ดินนั้นต่อไป (ตัวบทใช้คำว่า ?ให้แจ้งคู่กรณี?
หมายความว่าต้องแจ้งทั้ง 2 ฝ่าย คือทั้งฝ่ายผู้ขอและฝ่ายผู้คัดค้าน ดังนั้น การนับ
90 วัน ต้องนับจากวันที่รับแจ้งฝ่ายล่าสุด)