อบรมสัมมนา
“เทคนิคการทวงหนี้”สันนิบาตสหกรณ์ฯ
วันนี้
(30 เมษายน 2552) เวลา 09.00-12.00 น.อ.เดชา
กิตติวิทยานันท์ ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยาย “สินเชื่อเชิงปฏิบัติที่สัมฤทธิ์ผล ”
ให้กับสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ณ ห้องประชุมศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจรัส สินนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
เกี่ยวกับกลยุทธ์และเทคนิคการติดตามหนี้ โดยมีรายละเอียดหัวข้อสัมมนาคร่าว ๆ
ดังนี้
กลยุทธ์และเทคนิคการติดตามหนี้
ภาพรวมและผลกระทบของการทวงหนี้ในปัจจุบัน
- การทวงหนี้ในระบบ
มีกฎหมายควบคุม
มีบทลงโทษที่ชัดเจน
- สถาบันการเงิน
เช่น
ธนาคารทั้งของไทยและต่างประเทศมีการคิดดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด เช่น พรบ.ธนาคาร ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย หนังสือเวียน เป็นต้น
รวมทั้งการโฆษณาชวนเชื่อ ยังต้องถูกควบคุมการร้องเรียนต้องมีการแก้ไขที่ชัดเจน
- ไม่ใช่สถาบันการเงิน
เช่นการทวงหนี้ตามตลาดนัด
การทวงหนี้โหด การทวงหนี้รายวัน หนี้แชร์ หนี้นายทุนเงินกู้
ไม่มีการกำหนดกรอบกติกาที่ชัดเจน มีแต่พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
มีบทลงโทษน้อย ตำรวจไม่ทำหน้าที่
ไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย มีความรุนแรงทุกวัน เช่น ทำร้ายร่างกายลูกหนี้
กระทืบคาห้องน้ำ ตัดแขนที่นครสวรรค์ วางระเบิดเจ้าหนี้ที่ซอยเสือใหญ่ และที่โชคชัย
4 เป็นต้น ใช้ศาลเป็นเครื่องมือ แต่มีเจ้าหนี้บางรายที่มีการฟ้องร้องจำนวนมาก
ถูกศาลจำคุก 3 ปีมาแล้ว
ปัญหาที่พบเห็นบ่อยตามรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการคนเหล่านี้ขาดระเบียบวินัยในการใช้เงิน
ก่อหนี้ก่อสินเกินตัว ล่าสุดมีระดับผอ.ของขสมก.คนหนึ่งถูกไล่ออกจากงานเพราะเป็นตัวแทนในการกู้เงินสหกรณ์ให้กับลูกหนี้และเอาเงินไปใช้เองเนื่องจากติดการพนัน
มีภรรยาหลายคนเป็นต้น
-
การทวงหนี้นอกระบบ
ใช้ความรุนแรง
เช่น ใช้นักเลงอันธพาล พวกติดยา มีการใช้อาวุธทุกชนิด ฝ่าฝืนกฎหมายทุกขั้นตอน ทำตัวเป็นศาลเตี้ย
ไม่มีการทำหลักฐานเป็นหนังสือ พิพากษาเอง
- ผลกระทบต่อภาพลักษณ์
1.
ภาพลักษณ์เจ้าหนี้เสียหาย สังคมมองว่าเอาเปรียบลูกหนี้
2.
มีการตั้งชมรมรวมพลคนชักดาบขึ้นเต็มบ้านเต็มเมือง
เช่นชมรมพิทักษ์สิทธิ
ลูกหนี้
เครือข่ายลูกหนี้ ชมรมลูกหนี้บัตรเครดิต ส่งเสริมให้เบี้ยวอย่างเดียว
ชี้ช่องว่างในการเบี้ยวหนี้ สร้างวัฒนธรรมขี้โกง
ชี้ให้ลูกหนี้เห็นว่าเบี้ยวแล้วสบาย ทรัพย์สินไม่มีให้ยึด แถมไม่ต้องติดคุก
เครือข่ายขยายตัวแบบก้าวกระโดดเพราะเห็นประโยชน์ชัดเจนในการเป็นสมาชิกเครือข่าย
ทุกคนถือดาบคนละเล่ม พร้อมชักกันทั้งชมรม
- แนวโน้มความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการทวงหนี้
1.มีมากขึ้นแบบทวีคูณเห็นได้จากข่าวที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์
วิทยุ ทีวี
2.
การตอบโต้กลับของลูกหนี้ก็เริ่มมีมากขึ้น เช่น ดักตีหัวเจ้าหนี้ ข่มขู่เจ้าหนี้
ฆ่ายกครัว ปล้นบ้านเจ้าหนี้ ไม่ขโมยทรัพย์สินแต่เอาสัญญากู้ไป
3.
เศรษฐกิจย่ำแย่ การเมืองหมดทางออก แถมไข้หวัดหมูยังตามซ้ำ รัฐบาลหมดตัว
เลิกจ้างทุกวัน ลูกหนี้หมดหนทางทำมาหากิน การทวงหนี้จึงเป็นเรื่องยาก
ค่าจ้างทวงหนี้สูง ความรุนแรงก็จะมากขึ้นไปตามกัน
ปัจจัยที่ทำให้การทวงหนี้ประสบความสำเร็จ
- ปัจจัยจากพนักงานติดตามหนี้
ต้องมีคุณสมบัติของการเป็นพนักงานติดตามทวงถามหนี้
- ปัจจัยจากลูกหนี้
1.
ความสามารถในการชำระหนี้
2.
ทรัพย์สิน
3.
ผู้ค้ำประกัน
4.
ทัศนคติและความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา
5.
การมีระเบียบวินัยในการใช้จ่ายของลูกหนี้
- ความสามารถในการเจรจาต่อรอง
1.
พูดดีคุยดีกับลูกหนี้แต่ไม่มีความสามารถในการเจรจาต่อรองเสียเวลาเปล่า
2.
นักทวงหนี้ต้องฟังก่อนและจับประเด็น ห้ามขัดแย้ง
เมื่อโอกาสจะต้องต่อรองทันที โดยต่อรองแบบขั้นบันได ตั้งเป้าหมายย่อยหลาย ๆ เป้าหมาย
เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายคือการชำระหนี้ทั้งหมด เสนอทางเลือกเสนอทางออก
โน้มน้าวให้เห็นถึงข้อดีในการชำระหนี้ เป็นงานยาก คนที่จะเป็นนักเจรจาต่อรองควรเป็นคนใจเย็น
เน้นสันติวิธี
ต้องใช้ประสบการหรือเรียนรู้จากเพื่อนรวมงานหรือผู้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าต่อรองสำเร็จ การทวงหนี้ก็สำเร็จ
การใช้เครื่องมือต่าง
ๆ ที่เหมาะสมกับองค์กร/นักทวงหนี้/ตัวลูกหนี้/สถานการณ์ในการทวงหนี้
1.
ขยายเวลาชำระหนี้
2.
เปลี่ยนตัวลูกหนี้
3.
ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
4.
ไถ่ถอนหลักประกัน
5.
ออกหนังสือติดตามทวงถามหนี้ตามความหนักเบา
6.
ตีหลักประกันชำระหนี้
7.
เสนอเงื่อนไขให้ชำระหนี้ครั้งเดียวเป็นเงินโดยลดยอดหนี้
8.
เสนอเงื่อนไขเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยบางส่วน
9.
การส่งฟ้องศาล
10. การทำยอมในชั้นศาล
11. การบังคับคดี
12. การขายทอดตลาด
13. การให้โอกาสซื้อทรัพย์คืน
ปัจจัยที่ทำให้การทวงหนี้ล้มเหลว
-
ขาดประสบการณ์
-
ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้
-
ก่อนทวงหนี้ทำการบ้านน้อยเกินไป
-
ขาดคุณสมบัติที่จำเป็นของพนักงานทวงหนี้ที่ดี
-
ขาดความเข้าใจในธรรมชาติของลูกหนี้
การทวงหนี้ทางโทรศัพท์
การทวงหนี้ภาคสนาม
การรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อประกอบการทวงหนี้
-
การทำหนังสือรับสภาพหนี้
-
การออกหนังสือทวงถาม
-
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
-
การเปลี่ยนตัวลูกหนี้
-
การแปลงหนี้ใหม่
เครื่องมือทางกฎหมายที่ใช้ในการทวงหนี้
-
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่เป็นประโยชน์ในการทวงหนี้ เช่น
หน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องชำระหนี้มาตรา 650 ความรับผิดเรื่องดอกเบี้ย มาตรา
654
ลูกหนี้ไม่มีข้อต่อสู้คดีเกี่ยวกับเรื่องการกู้ยืมเงิน เพราะหลักฐานชัดเจน
นำสืบยาก มาตรา 653 อายุความในการฟ้องร้องก็นาน มาตรา 193/30
การค้ำประกันผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ต้องชำระแทนลูกหนี้ตามมาตรา 680
และเจ้าหนี้มีสิทธิเลือกที่จะให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ก่อน ตามมาตรา 686
ชำระหนี้แล้วผู้ค้ำประกันมีสิทธิไล่เบี้ยมาตรา 693 การจำนอง
เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามมาตรา 728 และเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเป็นต้น
-
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
-
คำพิพากษาของศาลฎีกา
เช่น การนำสืบว่าได้ชำระหนี้แล้ว ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
หากไม่มีหลักฐานต้องห้ามตามมาตรา 653 วรรคสอง การเบิกความเท็จของลูกหนี้ในชั้นศาล
เช่นอ้างว่าได้ชำระหนี้แล้ว
หากเป็นความเท็จอาจถูกดำเนินคดีฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่ง มีโทษจำคุก 5 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 177 เป็นต้น
หรือคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิคิดได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว
เช่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 ไม่เกินร้อยละ 15 เป็นต้น
-
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การฟ้องร้องเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามกฎหมายเมื่อมีการโต้แย้งสิทธิตาม
ป.วิแพ่งมาตรา 55
ความรับผิดในค่าธรรมเนียมศาล ค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ท้ายวิแพ่ง ร้อยละ 2
และค่าทนายความซึ่งศาลมีสิทธิกำหนดให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่น
การยึด การอายัด การขายทอดตลาด ไม่ว่าจะยึดแล้วขายไม่ขายลูกหนี้ต้องชำระหนี้แทน
ตาม ตาราง 5 ท้ายวิแพ่ง
สิทธิในการบังคับคดีของเจ้าหนี้ ตามมาตรา 271 มีถึง 10 ปี นอกจากนี้ยังมีพรบ.ล้มละลาย 2483
ยังสามารถจะขยายเวลาในการดำเนินการกับลูกหนี้ออกไปอีกถึง 3 ปี
ถ้าทั้งต้นทั้งดอก บุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป นิติบุคคล ตั้งแต่ 2 ล้านขึ้นไปตามมาตรา
9 เป็นต้น
-
กฎหมายอื่น ๆ
พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
พ.ศ. 2551 การฟ้องการสืบพยานรวดเร็วและสั้น มีผลเสียต่อลูกหนี้
เช่นกำหนดนัดพิจารณาไม่เกิน 30 วัน ปิดหมายมีผลทันที บังคับคดีได้ภายใน 15 วัน
ย่นย่อกระบวนการทุกชนิด ตามมาตรา24
และมาตรา 64 เป็นต้น
ท่านใดสนใจเชิญ
อ.เดชา กิตติวิทยานันท์
เป็นวิทยากรฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการติดตามหนี้หรือความรู้ทางด้านกฎหมายทุกประเภท สอบถามได้ที่ 02-948-5700
ภาพรวม (ภาพบรรยากาศการสัมมนาข้างล่างนี้)