การนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ให้เป็นไปตาม มาตรา 193/1 – 193/8
มาตรา 193/1 การนับระยะเวลาทั้งปวง ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมาย คำสั่งศาล ระเบียบข้อบังคับ หรือนิติกรรมกำหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา 193/2 การคำนวณระยะเวลา ให้คำนวณเป็นวัน แต่ถ้ากำหนดเป็นหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวัน ก็ให้คำนวณตามหน่วยเวลาที่กำหนดนั้น
มาตรา 193/3 ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวันให้เริ่มต้นนับในขณะที่เริ่มการนั้น
ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี
มาตรา 193/4 ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม วัน หมายความว่า เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี
มาตรา 193/5 ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปี ให้คำนวณตามปีปฏิทิน
ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งสัปดาห์ วันต้นแห่งเดือนหรือปี ระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งสัปดาห์ เดือนหรือปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ถ้าในระยะเวลานับเป็นเดือนหรือปีนั้นไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ให้ถือเอาวันสุดท้ายแห่งเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
มาตรา 193/6 ถ้าระยะเวลากำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือน ให้นับจำนวนเดือนเต็มก่อน แล้วจึงนับจำนวนวันหรือส่วนของเดือนเป็นวัน
ถ้าระยะเวลากำหนดเป็นส่วนของปี ให้คำนวณส่วนของปีเป็นเดือนก่อนหากมีส่วนของเดือน ให้นับส่วนของเดือนเป็นวัน
การคำนวณส่วนของเดือนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ถือว่าเดือนหนึ่งมีสามสิบวัน
มาตรา 193/7 ถ้ามีการขยายระยะเวลาออกไปโดยมิได้มีการกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป ให้นับวันที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้น
มาตรา 193/8 ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
ข้อควรระวังและคำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
-เอกสารรับรองความเป็นนิติบุคคลของสหกรณ์
-ทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน
-สัญญากู้
-สัญญาค้ำประกัน
-ใบคำขอสินเชื่อและเอกสารประกอบ
-รายละเอียดหรือประวัติการทวงหนี้
-รายละเอียดการชำระหนี้ของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน
-ตารางคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยตามระยะเวลาจนถึงวันฟ้อง
-หนังสือทวงถาม
-ยอดหนี้ที่ถูกต้องจนถึงวันฟ้อง
-หนังสือมอบอำนาจเป็นโจทก์แทน
การเตรียมตัวเพื่อเป็นพยานในชั้นศาล
-ต้องประสานกับทนายความล่วงหน้าก่อนขึ้นศาลอย่างน้อย 15 วัน
-ต้องมีสำเนาคำฟ้อง/คำเบิกความเพื่อซ้อมล่วงหน้า
-ตรวจสอบคำเบิกความให้สอดคล้องกับเอกสารสินเชื่อ
-จดจำรายละเอียดเกี่ยวกับเงินต้นและดอกเบี้ย
-จดจำรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้ครั้งสุดท้ายของลูกหนี้
-ข้อมูลเกี่ยวกับการชำระหนี้มีความสำคัญมากในการเบิกความ
การพิจารณาคดีในชั้นศาล
-การสืบพยานโจทก์
-การสืบพยานจำเลย
-การนัดฟังคำพิพากษา