งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
สถานเสริมความงามกับค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม
เนื่องจากเมื่อต้นเดือนกันยายน 2554 ภรรยาแอบได้ไปสมัครคอร์สเสริมความงามกับสถานเสริมความงามชื่อแห่งหนึ่ง โดยพนักงานแจ้งว่า จะได้รับการเข้ารับการดูแลรักษา ทั้งหมด 10 ครั้ง โดยรูดบัตรเครดิตไปเป็นเงินทั้งสิ้น 32,000 บาท หลังจากภรรยาเข้าคอร์สไป 1 ครั้ง ผมจึงทราบเรื่อง ผมก็ไม่เห็นว่าหน้าตาภรรยาจะหายดี และภรรยาก็บอกว่าไม่ได้รู้สึกดีขึ้นแต่อย่างใด ผมจึงบอกให้ภรรยาโทรไปยกเลิก และขอคืนเงิน แต่ทางศูนย์ความงามแจ้งว่า จะคิดเงินการเสริมความงาม 1 ครั้ง ที่ทำไปแล้วนั้น เป็นเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) โดยจะคืนเงินให้เพียง 10,000 บาท เท่านั้น ดังนั้น ผมจึงอยากทราบว่า
1. ทางศูนย์ความงามคิดค่าเสริมความงาม 1 ครั้ง ที่ทำนั้นสองหมื่นบาทได้หรือไม่อย่างไร
2. ผมสามารถฟ้องร้อง ตามมาตรา 4 พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่
3. ร้องเรียน สคบ. ได้หรือไม่ ต้องมีหลักฐานในการร้องเรียน สคบ.อะไรบ้าง
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
กรณีที่ภริยาเข้าทำสัญญาการเข้ารับการบริการดูแลรักษาเสริมความงาม และหากมีข้อสัญญากำหนดค่าใช้จ่ายการเข้ารับการบริการเป็นประการใดย่อมใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา แต่หากว่ามิได้ตกลงกกำหนดค่าบริการรักษากันไว้ตามขั้นตอนของการเข้ารับบริการแต่ละขั้นตอนไว้ แต่สถานบริการเสริมความงาม เรียกเก็บค่าบริการเป็นราคาที่สูงเกินควรกว่าความเป็นจริงแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค ชอบที่ภริยาจะยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ต่อสคบ.เพื่อทำการสอบสวนและมีอำนาจเรียกคู่กรณีมาเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่อไป