งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
โฆษณาที่ทำให้เข้าใจผิด ฟ้องได้ไหม
ผมได้ซื้อรถยนต์โดยดูรายละเอียดอุปกรณ์มาตรฐานจากเอกสารโฆษณาของบริษัทรถยนต์นั้น และผมเห็นรายการอุปกรณ์หนึ่งที่เขียนว่า กุญแจรีโมทพับได้, เปิดปิดกระโปรงท้ายรถได้ แล้วก็ถัดไปเป็นช่องระบุแต่ละรุ่น ว่ามีอุปกรณ์นี้หรือไม่ ซึ่งในหัวข้อนี้ระบุเหมือนกันทุกรุ่น โดยหลักๆ คือมีทั้งรุ่นที่เป็น 4 ประตูและ 5 ประตู ผมจึงเข้าใจว่าได้อุปกรณ์ข้อนี้เหมือนกันทุกรุ่น แล้วผมก็จองซื้อรุ่นที่เป็น 5 ประตู และแล้วรับรถมาแล้ว จึงทราบว่ารุ่นห้าประตูไม่สามารถเปิดกระโปรงท้ายจากรีโมทเหมือนรุ่นสี่ประตู เพราะรุ่นห้าประตูกระโปรงท้ายมีแต่ประตูหลัง ตามที่ผมเข้าใจผมนึกว่าเรียกว่ากระโปรงท้ายเหมือนกัน และผมยังพบรูปภาพโฆษณาบนเวปไซต์อีกด้วยว่า รีโมทของรุ่นห้าประตูมีปุ่มกดเปิด-ปิดกระโปรงท้ายด้วย ซึ่งผมได้แจ้งร้องเรียนไปที่บริษัทโดยส่งรูปไปให้ดู แต่บริษัทกลับรีบดำเนินการเอารูปกุญแจรีโมทที่ลงไว้ผิดออก แล้วบอกผมว่าข้อมูลโฆษณาของบริษัทถูกต้องทุกอย่าง ไม่สามารถทำอะไรให้ลูกค้าได้ ซึ่งผมพยายามร้องเรียนเพื่อให้บริษัทรับผิดชอบที่ได้มีสื่อโฆษณา ที่ทำให้ผมเข้าใจผิด และเป็นส่วนที่ทำให้ผมตัดสินใจซื้อรถผมอย่ รบกวนสอบถามว่า กรณีอย่างนี้ผมสามารถฟ้องไปยังศาลผู้บริโภคเพื่อเรียกร้องให้บริษัทรับผิดชอบโดยให้ผมคืนรถแบบเต็มจำนวนเงินที่ซื้อ และชดเชยค่าปรับจากการเช่าซื้อด้วยได้ไหมครับ
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
ตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา หากข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าและบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการสถิติหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ตามความมาตรา 22 วรรคสอง(2) แห่งพรบ.ดังกล่าว กรณีจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาที่จะพิจารณามีคำสั่งตามกฎหมาย ดังนั้น ท่านจึงต้องดำเนินการยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป