ชี้บัตรเครดิต 12 ล้านใบ หนี้เน่า 1.8 แสนล้าน|ชี้บัตรเครดิต 12 ล้านใบ หนี้เน่า 1.8 แสนล้าน

ชี้บัตรเครดิต 12 ล้านใบ หนี้เน่า 1.8 แสนล้าน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ชี้บัตรเครดิต 12 ล้านใบ หนี้เน่า 1.8 แสนล้าน

เปิดข้อมูลวิกฤติบัตรเครดิต 9 ปี บัตรเครดิตเพิ่มนับ 10 ล้านบาท

บทความวันที่ 30 ก.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 12283 ครั้ง


ชี้บัตรเครดิต 12 ล้านใบ หนี้เน่า 1.8 แสนล้าน

 

เปิดข้อมูลวิกฤติบัตรเครดิต 9 ปี บัตรเครดิตเพิ่มนับ 10 ล้านบาท ใช้จ่ายผ่านบัตรสูงถึง 73% เบิกเงินสดล่วงหน้า 24% หนี้ค้าง 1.8 แสนล้านบาท

ในการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต พ.ศ.... ซึ่งจัดโดยสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อวานนี้ (29 ก.ค.) มีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ "บัตรเครดิต" ที่แทบจะเป็น "ปัจจัยที่ 5" ของคนไทยในปัจจุบันไปแล้ว ซึ่งหลายเรื่องแม้แต่คนที่ถือบัตรเองก็ยังไม่รู้

ปัจจุบัน สถาบันผู้ออกบัตรเครดิตในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 21 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ของไทย 7 แห่ง สาขาของธนาคารพาณิชย์จากต่างประเทศ 2 แห่ง และบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ Non Bank 12 แห่ง

ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วมากธุรกิจหนึ่ง พิจารณาจากจำนวนบัตรเมื่อปี 2541 ที่มีจำนวนบัตรเครดิต 1,906,645 ใบ เพิ่มเป็น 12,003,368 ใบ ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นราว 10 ล้านใบ ในระยะเวลาเพียง 9 ปี!

การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจำแนกได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย การใช้จ่ายในประเทศ การใช้จ่ายต่างประเทศ และการเบิกเงินสดล่วงหน้า

ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ณ วันที่ 31 ธ.ค.2550 พบว่า การใช้จ่ายในประเทศมีสัดส่วนถึงร้อยละ 73 ของค่าใช้จ่ายรวม ขณะที่การใช้จ่ายในต่างประเทศมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 3 และการเบิกเงินสดล่วงหน้ามีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 24 โดยมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 9

มูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยรวมเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่ายลดลงบ้างในปี 2548 อันเป็นผลจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 23 มี.ค.2547 ที่กำหนดคุณสมบัติของผู้ถือบัตรเครดิตใหม่เพื่อลดความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตลง เช่น ต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือ 180,000 บาทต่อปี เป็นต้น

ทว่า ในปี 2549-2550 มูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าสินเชื่อคงค้างตั้งแต่ปี 2541-2550 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน

สำหรับยอดสินเชื่อคงค้าง คือ ยอดสะสมของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในรอบบัญชีปัจจุบัน กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในอดีตที่ยังไม่ได้รับชำระคืนที่เกิดจากการใช้จ่ายทุกประเภท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบยอดใช้จ่ายโดยเฉลี่ยกับมูลค่ายอดสินเชื่อคงค้าง โดยเฉลี่ยแล้วพบว่า จากข้อมูล ณ สิ้นปี 2550 มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตรวมทั้งสิ้น 79,760 ล้านบาท คิดเฉลี่ยเท่ากับ 6,644.77 บาทต่อบัตร มูลค่ายอดสินเชื่อคงค้างมีจำนวนทั้งสิ้น 179,276 ล้านบาท คิดโดยหารด้วยจำนวนบัตรเครดิตทั้งหมดในปี 2550  จำนวน 12,330,369 ใบ จะมียอดคงค้างโดยเฉลี่ยเท่ากับ 14,935.44 บาทต่อบัตร

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของผู้ถือบัตรเครดิตตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย จะพบว่า ยอดสินเชื่อคงค้างโดยเฉลี่ยมูลค่าใกล้เคียงกับรายได้ขั้นต่ำของผู้มีเงินเดือนประจำที่สามารถมีบัตรเครดิตได้

ยิ่งไปกว่านั้น ยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิต ณ สิ้นเดือน ก.ย.2551 ยังขยับขึ้นไปถึง 181,384.38 ล้านบาทแล้ว!

แน่นอนว่า หากยอดสินเชื่อคงค้างจากบัตรเครดิตมีมากเกินไปโดยไม่มีการชำระหนี้ที่เหมาะสม ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะหากผู้บริโภคนำบัตรเครดิตไปใช้จ่ายโดยมิได้คำนึงว่าอำนาจการใช้จ่ายที่มีอยู่นั้นไม่สอดคล้องกับรายได้ปัจจุบัน คือเป็นรายได้ในอนาคต เมื่อครบกำหนดชำระก็ไม่สามารถจ่ายชำระคืนได้เต็มจำนวนตามยอดเรียกเก็บ ก็จะเลือกจ่ายแบบขั้นต่ำ และยินยอมเสียดอกเบี้ยปรับตามอัตราเรียกเก็บของแต่ละสถาบันผู้ออกบัตร ก่อให้เกิดสภาวะการเป็นหนี้

อัตราดอกเบี้ยที่สถาบันผู้ออกบัตรเครดิตเรียกเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 15-20 บางแห่งมีค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอีกร้อยละ 5

สำหรับผู้บริโภคที่ไม่สามารถจ่ายชำระยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้เต็มจำนวน นอกจากจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราตามประกาศที่เรียกเก็บดังกล่าวแล้ว ผู้บริโภคยังมีภาระค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหากค้างชำระยอดเรียกเก็บหรือไปจ่ายชำระคืนล่าช้า อัตราการเรียกเก็บอยู่ที่ 200-290 บาทต่องวด มีเพียงสถาบันผู้ออกบัตรเครดิต 4 รายที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าเรียกเก็บหนี้ คือ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทย และธนาคารไทยพาณิชย์

ฉะนั้นบางรายที่มีบัตรเครดิตมากกว่า 1 ใบ จะเกิดสภาวะการหมุนเงินจากวงเงินที่ได้จากบัตรเครดิต หากไม่มีการจัดการหรือวางแผนการใช้จ่ายที่ดี จะก่อให้เกิดเป็น "วัฏจักรของการก่อหนี้แบบไม่สิ้นสุด" เป็นพฤติกรรมทีเรียกว่า "Moral hazard" สุดท้ายจะก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมตามมา

จากการศึกษาเรื่อง "พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิต กรณีศึกษา : รูปแบบการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ก่อให้เกิดหนี้และวิธีการจัดการหนี้บัตรเครดิต" โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามจากผู้ถือบัตรเครดิตกลุ่มพนักงานธนาคารและกลุ่มข้าราชการ รวม 225 ราย สรุปได้ว่า

-การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต พบว่า ทั้งพนักงานธนาคารและข้าราชการมีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเฉลี่ยมากกว่า 1 ใบ ซึ่งกลุ่มข้าราชการจะใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตสูงกว่ากลุ่มพนักงานธนาคาร เพราะอาชีพข้าราชการเป็นอาชีพที่มีรายได้น้อยกว่า จึงมีการนำบัตรเครดิตมาช่วยในการจับจ่ายใช้สอยสูง

-พฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในลักษณะการกู้ยืม มีทั้งใช้บัตรเครดิตผ่อนชำระสินค้าและบริการ ใช้บัตรเครดิตกดเงินสด นำยอดเรียกเก็บไปจ่ายชำระผ่านบัตรเครดิตอีกใบ และจ่ายชำระยอดเรียกเก็บจากบัตรเครดิตไม่เต็มจำนวน

จากการศึกษายังพบว่า ผู้ถือบัตรเครดิตที่มีปัญหาหนี้บัตรเครดิตสูงสุด เกิดจากจำนวนบัตรที่ถืออยู่ถึง 9 ใบ!

เห็นข้อมูลแบบนี้แล้วคงสรุปได้ตรงกันว่า ประเทศไทยควรจะมีกฎหมายการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเสียที...


ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก