ตัวอย่างหนังสือธนาคารหักเงินในบัญชีและความรู้สึกของผู้ถูกหักบัญชีโดยไม่ใช้อำนาจศาล
คุณมณฑวรรธน์ พรหมใจ อาชีพ วิศวกรรับเหมาก่อสร้าง ร้องทุกข์ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทนายคลายทุกข์ เรื่อง เคยเป็นหนี้บัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจึงไม่สามารถผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตได้ เป็นหนี้บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ จำนวน 115,000 บาท และได้เปิดบัญชี ประเภทออมทรัพย์ของธนาคารกรุงเทพ สาขาหนองแขมไว้ด้วย
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 ได้ติดต่อสำนักงานกฎหมาย ซี แอล เอ ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากธนาคารกรุงเทพ ให้เจรจาหนี้กับคุณมณฑวรรธน์ ผลการเจรจาคือต้องจ่ายเงินก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 จำนวนเงิน 6,000 บาท และส่วนที่เหลือจะทำเรื่องประนอมหนี้ให้
ต่อมาวันเดียวกัน คุณมณฑวรรธน์ ได้ขายรถยนต์ให้กับเต็นท์ได้เงินมาประมาณ 250,000 บาท จึงนำเงินทั้งหมดเข้านำฝากกับธนาคารกรุงเทพ และนำถอนเงินบางส่วนไปจ่ายหนี้เพื่อเป็นค่าแรงของลูกน้อง เงินส่วนที่เหลือประมาณ 115,000 บาท คงเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝาก ประเภทออมทรัพย์ของธนาคารกรุงเทพ
วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ช่วงบ่ายจะไปโอนเงินจำนวน 6,000 บาท จ่ายหนี้บัตรเครดิต ตามยอดที่ตกลงกับสำนักงานกฎหมาย ซี แอล เอ จึงพบว่า เงินในบัญชีเหลือ 0 บาท จึงติดต่อไปที่ธนาคารกรุงเทพ ที่หมายเลข 1333 เพื่อสอบถามเรื่องยอดเงินที่หายไป เจ้าหน้าที่แจ้งว่า “เป็นหนี้ก็ต้องใช้” ซึ่งคุณมณฑวรรธน์ เสียความรู้สึกกับคำพูดที่ฝ่ายบริหารของธนาคารกรุงเทพพูดกับลูกค้า
จากนั้นจึงติดต่อไปที่ สำนักงานกฎหมาย ซี แอล เอ เขาแจ้งว่า จะทำเรื่องคืนเงินให้ แต่จนปัจจุบันก็ยังคืนเงินไม่หมด
คุณมณฑวรรธน์ เล่าว่า ที่จริงตนเองได้มีการตกลงเรื่องการประนอมหนี้กับทางสำนักงานกฎหมายแล้ว ธนาคารผู้รับมอบอำนาจก็น่าจะทำตามเงื่อนไข ไม่ใช่ว่าลูกค้ามีเงินฝากในบัญชีธนาคารของตน กลับมาหักเงินโดยพละการ เพราะเงินดังกล่าวต้องนำไปใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพ และหาเงินจากส่วนอื่นมาใช้หนี้ธนาคารอยู่แล้ว และอยากฝากไปถึงฝ่ายบริหารของธนาคารกรุงเทพว่า อยากให้ท่านทำตามข้อตกลงที่เสนอไว้ตอนแรก ไม่ใช่ทำตัวเป็นศาลเตี้ยแบบนี้ โดยที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตัวอย่างหนังสือตอบกลับข้อร้องเรียนของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการถูกหักบัญชีโดยพละการ