อยากให้คนเช่าบ้านออกจากบ้านเรา|อยากให้คนเช่าบ้านออกจากบ้านเรา

อยากให้คนเช่าบ้านออกจากบ้านเรา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

อยากให้คนเช่าบ้านออกจากบ้านเรา

กรณีซื้อบ้านต่อมือสองแต่เจ้าของเดิมได้ปล่อยให้คนเช่าอยู่ก่อนหน้านั้น

บทความวันที่ 5 เม.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11665 ครั้ง


อยากให้คนเช่าบ้านออกจากบ้านเรา


            กรณีซื้อบ้านต่อมือสองแต่เจ้าของเดิมได้ปล่อยให้คนเช่าอยู่ก่อนหน้านั้น ถ้าโฉนดบ้านหลังนั้นเป็นของเราแล้ว แต่คนเช่ายังไม่ออกจากบ้านหลังนั้นยังอ้างว่าไม่มีสิทธิ์มาไล่ได้ภายในเดือนเดียวเพราะยังไม่มีที่ไป แต่เราจำเป็นที่ต้องเข้าไปอยู่บ้านหลังนั้นเหมือนกัน และเราก็เป็นเจ้าของมีวิธีไหนบ้างคะ ที่จะทำให้เขาออกจากบ้านเราให้เร็วที่สุด


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
            หากเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าได้ทำสัญญาเช่ากันเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของเจ้าของเป็นสำคัญแล้ว ผู้เช่ามีสิทธิเช่าบ้านและอาศัยในบ้านที่เช่าได้จนกว่าครบกำหนดเวลาเช่าโดยท่าน แม้ว่าจะได้ซื้อและรับโอนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แห่งบ้านก็ตาม แต่ท่านในฐานะผู้รับโอนบ้านที่เช่าโดยมีสัญญาเช่านั้นจึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิมผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่านั้นด้วย เพราะตามกฎหมายสัญญเช่าบ้านซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ระหว่างเจ้าของเดิมกับผู้เช่าย่อมไม่ระงับไป เพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 ดังนั้น สิ่งที่ท่านสามารถจะกระทำได้ ณ ตอนนี้ก็ควรมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้เช่าเพื่อให้ทราบความประสงค์ของท่านในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แห่งบ้านว่าท่านไม่มีความประสงค์ที่จะให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีกเมื่อครบกำหนดเวลาเช่านั้น
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

scvyu

โดยคุณ พิชญาภร 24 ม.ค. 2562, 23:02

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก