งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
กำหนดเวลาทำงานล่วงเวลา
บริษัทมีสิทธิกำหนดการทำงานล่วงเวลาหรือไม่ คือกำหนดให้เดือนหนึ่งได้ไม่เกิน 15 ชม. แม้ว่าจะทำถึง 30 ชม.ก็ตาม แล้วเรื่องการผ่านโปรได้คุยกับผู้จัดการว่าหากผ่านโปรจะขึ้นเงินให้หรือไม่ ผู้จัดการบอกขึ้นแน่ๆ แต่ต้องถามนายก่อน ดิฉันวุฒิปริญญาตรีมีประสบการณ์ ทำงานเป็นเป็นพนักงานต้อนรับของบริษัทเกี่ยวกับอิเลคทรอนิกส์ชื่อดัง อยากจะทราบว่า หากนายจ้างได้เพิ่มเงินให้กับพนักงานที่เข้ามาทำงานก่อนดิฉันเพียง 2 เดือน จาก 9000 บาท ไปเป็น 12000 บาท เนื่องจากผ่านโปร แต่จบเพียง ปวส. แต่ถ้าหากดิฉันผ่านโปรจะได้ขึ้น 3000 หรือไม่ ตอนนี้ฐานเงินเดือน 12000บาท ถ้าไม่ขึ้นให้เท่ากันเรามีสิทธิเรียกร้องอะไรได้ไหมค่ะ เพราะเราทำงานเยอะมาก คนที่มาก่อนอู้งานตลอด โยนงานมาให้ตลอด พี่ที่ผ่านโปรไปได้เพิ่มจาก 13000 เป็น 13500 บาทเท่านั้น ในสลิปเขียนว่าค่าตำแหน่ง ทำตำแหน่งบัญชีค่ะ ปริญญาตรีเหมือนกัน เลยสงสัยว่าทำไมเค้าถึงปรับเงินเดือน ปวส.เยอะ แต่ไม่ยอมปรับเงินเดือนปริญญาตรี เขารับสมัครตามวุฒิการศึกษาค่ะ
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
1. นายจ้างชอบที่จะจัดให้มีหลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุดอันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานได้ แต่การที่ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำตามมาตรา 61 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยนายจ้างไม่อาจจำกัดการจ่ายค่าล่วงเวลาแก่ลูกจ้างน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดนี้
2. กรณีการปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างย่อมเป็นไปตามข้อตกลงแห่งสัญญาจ้างและนายจ้างกระทำผิดข้อตกลงแห่งสัญญาจ้างนั้น จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างชอบที่จะฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งบังคับนายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาจ้างนั้นต่อไป