ผิดกฏหมายแรงงานข้อไหนหรือไม่|ผิดกฏหมายแรงงานข้อไหนหรือไม่

ผิดกฏหมายแรงงานข้อไหนหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผิดกฏหมายแรงงานข้อไหนหรือไม่

ปัจจุบันผมทำงานในบริษัทสื่อสารมวลชนแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นงานสายข่าว

บทความวันที่ 14 พ.ค. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 8286 ครั้ง


ผิดกฏหมายแรงงานข้อไหนหรือไม่

             ปัจจุบันผมทำงานในบริษัทสื่อสารมวลชนแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นงานสายข่าว ทำให้ผมต้องทำงานตั้งแต่ 08.00-24.00 (16 ชม.) แต่ทำวันเว้นวันทุกวัน โดยมีฐานเงินเดือน 13,000 บาท ปกติผมทำงาน 16 ชม./15วัน = 240 ชม./เดือน โดยเหมารวมวันหยุดไปด้วยเป็นโอทีให้วันละ 400 (ต่อ8ชม.) บาท โดยฐานแล้วบริษัทผมทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ หยุดวันอาทิตย์ แต่เนื่องจากลักษณะงานผมที่ต้องเข้าวันอาทิตย์ รวมไปถึงวันหยุดเทศกาลอื่นๆ ที่ควรจะได้ค่าแรงเพิ่ม แต่กลับได้วันละ 400 เช่นเดิม  ที่สำคัญเมื่อผมลากิจตรงกับวันหยุด ผมก็ถูกหักเงินโอทีไป แต่เมื่อผมมาทำงานสายในวันหยุด ผมกลับถูกใบเตือนจากบริษัท ตอนนี้ฐานเงินเดือนผมอยู่ที่ 13,000 บาท ทำโอที 4-8 วัน/เดือน วันละ 400(ต่อ 8 ชม.) บาท   ผมสามารถจัดการอะไรกับตรงนี้ได้บ้างครับ รู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบเรื่องเวลาการทำงานต่อค่าแรงอย่างรุนแรง


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
          กรณีตามปัญหาหากลักษณะหรือสภาพของงาน นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันได้ กฎหมายกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง ตามมาตรา 23 วรรคท้ายแห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ดังนั้น การที่นายจ้างประกาศกำหนดเวลาทำงานแต่ละวันเกิน 8 ชั่วโมง สำหรับลักษณะหรือสภาพของงานที่ท่านทำดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ท่านอาจร้องเรียนไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตามอำนาจหน้าที่หรือฟ้องคดีต่อศาลแรงงานพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวได้ตามมาตรา 8 (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ส่วนข้อสงสัยประการอื่นท่านอาจโทรปรึกษากับทีมทนายคลายทุกข์ที่ 02-9485700

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

 อยากรู้อีกแล้วคะว่าถ้าเราเบิกเงินค่าแรงแต่ไม่เกินตำนวนที่เราทำไว้นะคะแล้วนายจ้างคิดดอกเบี้ยเราร้อยละสิบทั้งๆที่เป็นเงินค่าแรงของเราแท้ๆแบบนี้ก็ทำได้หรอคะรบกวนตอบด้วยนะคะอยากรู้จิงๆ

โดยคุณ ได้หรอคะ 18 ม.ค. 2560, 02:16

ความคิดเห็นที่ 2

 ผมเป็นคนหนึ่งที่รับจ้างและใช้แรงงาน วันหนึี่งผมทำงานตั้งแต่ เวลา 03.00 น.- 12.00 น.

ผมเป็นผู้ใช้แรงงานกับหน่สวยงานราชการท้องถิ่น อัตราค่าจ้างผมคือ 250 บาท/วัน หยุดวันอาทิตย์

ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำจังหวัดที่ผมทำอยู่ 300 บาท/วัน ผมต้องทำยังไงบ้าง หรือต้องก้มหน้าทำงานต่อไปเพื่อเลี้ยงปากท้อง

โดยคุณ ผู้ใช้แรงงาน 3 พ.ย. 2559, 15:34

ความคิดเห็นที่ 1

 ผมขอสอบถามหน่อยครับ

ผมทำงานบริษัทเร่งรัดหนี้สินแห่งหนึ่ง ทำงานมา7เดือนแล้วยังไม่ได้ปรับเป็นพนักงานประจำได้รับเป็นราย ได้เป็นรายวันอยู่ และยังไม่มีถ้าทางจะปรับไห้ผมเป็นรายเดือนแบบนี้ทางบริษัท มีความผิดหรือป่าวครับ และผมต้องทำยังไงบาง ขอคำปรึกษาหน่อยครับ 

โดยคุณ ฐิติกรณ์ สวนทอง 1 ก.ย. 2559, 16:15

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก