การถอนการอายัด แต่ไม่ถอนการบังคับคดี
ดิฉันขอทราบว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 250,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่อมาทางโจทก์ได้ตั้งเรื่องอายัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ที่กรมบังคับคดี และทางบริษัทฯของจำเลย ได้ส่งเงินเข้ากรมบังคับคดี งวดแรก ในยอด 9,000 บาท ทางจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อมาทางโจทก์ ประสงค์จะชำระก้อนเดียว ในยอด 100,000 เพื่อถอนการบังคับคดี เพราะให้เหตุผลว่าทางจำเลยที่ 1 เขามีงานทำให้ไปบังคับคดีกับจำเลยที่ 1 ในส่วนที่เหลือต่อไป อยากทราบว่า
1.หากโจกท์มีความประสงค์ จะรับเงินจากจำเลยที่ 1แล้วสามารถตั้งเรืองอายัดจำเลยที่ 1 ในส่วนที่เหลือได้อีกหรือไม่
2.หากต้องการถอนการอายัดเงินเดือนจำเลยที่ 2และถอนการบังคับคดีไป สามารถตั้งเรื่องเข้าไปใหม่ได้อีกหรือไม่
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
1.เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยทั้งสอง จึงมีความผูกพันร่วมกันที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้เสร็จสิ้นเชิง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ได้ครบถ้วนตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271,284
2. เจ้าหนี้ชอบที่จะแจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นหนังสือว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดีด้วยการถอนการอายัดเงินค่าจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 295(2) กรณีไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้ ทั้งนี้ภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 271