บังคับให้เขียนใบลาออกตั้งแต่สมัครงานทำได้หรือไม่|บังคับให้เขียนใบลาออกตั้งแต่สมัครงานทำได้หรือไม่

บังคับให้เขียนใบลาออกตั้งแต่สมัครงานทำได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

บังคับให้เขียนใบลาออกตั้งแต่สมัครงานทำได้หรือไม่

มีสถานประกอบการบางแห่งได้บังคับให้พนักงานเขียนใบลาออก

บทความวันที่ 8 ม.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11254 ครั้ง


บังคับให้เขียนใบลาออกตั้งแต่สมัครงานทำได้หรือไม่


          มีสถานประกอบการบางแห่งได้บังคับให้พนักงานเขียนใบลาออก แต่ยังไม่ลงวันที่ตั้งแต่ตอนที่รับเขาเป็นพนักงานเลย พอมีปัญหาเช่น บาดเจ็บจากการทำงานหรือเลิกจ้าง ก็จะลงวันที่ให้ตัวเองได้รับผลประโยชน์ และก็ใช้ใบลาออกดังกล่าวในการอ้างสิทธิ์ในการไม่จ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง การกระทำดังกล่าว ผิดกฎหมายไหมครับ ผิดมาตราไหนบ้างแล้ว ผมพอจะมีวิธีการเรียกร้องสิทธิ์ให้กับพนักงานได้อย่างไร พอดีผมทำงานที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายแรงงานแล้วมีพนักงาน


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
           การบังคับให้เขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้ามีความผิดต่อเสรีภาพ ตาม ป.อ.มาตรา 309 เพราะเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดให้จำต้องกระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความยากอยู่ที่จะทำอย่างไรถึงจะมีพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าได้มีการเขียนหนังสือลาออกไว้ล่วงหน้าแล้วเพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของนายจ้าง ทางแก้ จะต้องแอบบันทึกเสียงนายจ้างไว้ประกอบการดำเนินคดีอาญา และนอกจากนี้หากมีการนำไปลงวันที่โดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลายมือชื่อ มีความผิดฐานปลอมเอกสารอีกกรรมหนึ่งตาม มาตรา 264 วรรคสอง หากมีการนำไปใช้หรืออ้างมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ตามมาตรา 268 และยังมีความผิดตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 เนื่องจากการลาออกถือเป็นกรณีที่ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาแต่กรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาเพราะถูกบังคับ จึงไม่เป็นการแสดงเจตนาด้วยใจสมัคร ตาม ป.พ.พ.มาตรา 149  จึงไม่ถือว่ามีนิติสัมพันธ์เกิดขึ้น

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก