ผิดนัด 1 งวด คืนรถไฟแนนซ์ ไม่ต้องรับผิดส่วนต่าง|ผิดนัด 1 งวด คืนรถไฟแนนซ์ ไม่ต้องรับผิดส่วนต่าง

ผิดนัด 1 งวด คืนรถไฟแนนซ์ ไม่ต้องรับผิดส่วนต่าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผิดนัด 1 งวด คืนรถไฟแนนซ์ ไม่ต้องรับผิดส่วนต่าง

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2567

บทความวันที่ 21 ก.พ. 2568, 17:24

มีผู้อ่านทั้งหมด 286 ครั้ง


ผิดนัด 1 งวด คืนรถไฟแนนซ์ ไม่ต้องรับผิดส่วนต่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2567
           ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้สิทธิธนาคารผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาว่า กรณีผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 3 งวด ติดๆ กัน และธนาคารได้บอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อ 3 งวด ติดๆ กัน และพร้อมด้วยเบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายที่ธนาคารเรียกเก็บได้ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ ค่าเช่าซื้อภายในเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับแต่วันที่ผู้เช่าได้รับหนังสือ และผู้เช่าซื้อละเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น ธนาคารมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ชำระค่าเช่าซื้อเพียงงวดเดียวแล้วเป็นฝ่ายส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อต่อไปและนำออกขายทอดตลาดพฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ถือเป็นการตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์รับมอบรถยนต์ คืนว่าเป็นการเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์รับมอบรถยนต์คืน ถือว่าเป็นการเลิกสัญญาในกรณีอื่นมิใช่การเลิกสัญญาที่มีผลจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเช่าซื้อ ทั้งไม่ถือเป็นการสิ้นสุดสัญญาไม่ว่ากรณีใดๆ อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากค่าเช่าซื้อโดยอาศัยข้อสัญญาเช่าซึ่งระงับไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย 
         แม้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือแสดงเจตนารับผิดต่อโจทก์โดยให้โจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายตามสภาพที่โจทก์รับมาในขณะส่งมอบ หากขายทอดตลอดได้ราคามาคุ้มกับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดชดใช้มูลหนี้ส่วนที่ขาดตามสัญญาแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการจัดทำเอกสารขึ้นโดยผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียวยอมรับผิด เมื่อฝ่ายโจทก์มิได้ตกลงและลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารนั้นด้วย จึงไม่ใช่การโต้แย้งหรือสงวนสิทธิในการเรียกค่าเสียหาย ไม่มีผลให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดค่าขาดราคาตามเอกสารดังกล่าว
         จำเลยที่ 1 ผิดนัดและส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์โดยไม่เป็น ไปตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 สละประโยชน์ในส่วนที่โจทก์ต้องมีหนังสือในส่วนที่โจทก์ต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาภายใน 30 วัน ตามข้อตกลงในสัญญา เนื่องจากเป็นข้อสัญญากำหนดบังคับโจทก์ให้ปฏิบัติเพื่อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา หาใช่ข้อกำหนดให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติที่จำเลยทั้งสองจะสละประโยชน์ได้ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์แล้วภายหลังโจทก์ได้รับรถยนต์คืน โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน 30 วัน หากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาเลิกกันได้อีก หนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่มีผลบังคับ
         โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต หมายเลขทะเบียน 2 ฒศ... กรุงเทพมหานคร ไปจากโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน หลังจากทำสัญญาจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์ทวงถามและบอกเลิกสัญญาแล้ว แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ต่อมาจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์นำรถยนต์ดังกล่าวออกประมูลขายทอดตลาดได้ราคาไม่ครบตามสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดราคา 337,561.99 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงิน 343,833.99 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ 
         จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ
         ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 5,790 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 22 มกราคม 2564) ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใดก็ให้ปรับเปลี่ยนได้ตามนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับและคำขออื่นให้ยก
         โจทก์อุทธรณ์
         ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
         โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
         ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต หมายเลขทะเบียน 2 ฒศ... กรุงเทพมหานคร ไปจากโจทก์ในราคา 757,169.99 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตกลงชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดรายเดือน รวม 84 งวด งวดละ 9,014 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ชำระทุกวันที่ 15 ของเดือน เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน หลังจากทำสัญญาจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์เพียง 9 งวด รวมเป็นเงิน 81,126 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 10 ประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2563 ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563 จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ ครั้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 โจทก์นำรถยนต์ดังกล่าวออกประมูลขายทอดตลาดให้แก่บุคคลภายนอกได้เงิน 338,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในส่วนความรับผิดของจำเลยทั้งสามในค่าขาดประโยชน์และค่าติดตามรถยนต์คืนเป็นเงิน 5,790 บาท พร้อมดอกเบี้ยยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เนื่องจากไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
          คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า การเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่ได้เกิดจากความสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยายของโจทก์ จำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่งวดประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2563 เป็นต้นมาและมีการส่งมอบรถคืนโจทก์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563 ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อตกลงสัญญาเช่าซื้อ และจำเลยที่ 1 ได้แสดงความประสงค์ยอมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์ และถือว่าโจทก์ได้สงวนสิทธิ์ในการที่จะเรียกร้องค่าเสียหายนั้นไว้ด้วย หลังจากที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถคืนโจทก์แล้ว โจทก์จึงใช้สิทธิออกหนังสือบอกเลิกสัญญาจะเกิดในกรณีใดก็ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 11 ได้กำหนดให้สิทธิและหน้าที่รวมถึงความรับผิดของคู่สัญญาภายหลังจากที่สัญญาเลิกกัน ไม่ได้จำกัดเฉพาะกรณีที่โจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9.1 (ก) หากทรัพย์ที่เช่าซื้อออกประมูลขายแล้วได้ราคาน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระหนี้ตามสัญญาผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ชำระส่วนที่ขาด เห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้สิทธิธนาคารผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา ตามข้อ 9.1 (ก) ว่ากรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 3 งวดติดๆ กัน และธนาคารได้บอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อ 3 งวดติดๆ กัน และธนาคารได้บอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระพร้อมด้วยเบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายที่ธนาคารเรียกเก็บได้ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อภายในเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับแต่วันที่ ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือ และผู้เช่าซื้อละเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น ธนาคารมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 10 ประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2563 เพียงงวดเดียว แล้วต่อมาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563 จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อดังกล่าวที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ และการที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยไม่ประสงค์ ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อต่อไป และต่อมานำรถยนต์คันดังกล่าวออกขายทอดตลาด พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ถือเป็นการตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์รับมอบรถยนต์คืน กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นการเลิกสัญญาในกรณีอื่น มิใช่การเลิกสัญญาที่มีผลจากฝ่ายใดๆ อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อข้อ 11 เนื่องจากการสิ้นสุดสัญญาตามข้อสัญญาดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้ออีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระโดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งระงับไปแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์รับรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยสงวนสิทธิในการเรียกค่าเสียหายหรือค่าขาดราคานั้น เห็นว่า ในข้อนี้แม้โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือแสดงเจตนารับผิดต่อโจทก์ตกลงให้โจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายตามสภาพที่โจทก์รับมาในขณะส่งมอบตามบันทึกการส่งมอบรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 9 แต่เอกสารดังกล่าวมิใช่สัญญาเช่าซื้อ หากแต่เป็นเพียงหลักฐานการส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืน และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรับต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ หากโจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายทอดตลาดได้ราคาไม่คุ้มกับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยอมรับผิดชดใช้มูลหนี้ส่วนที่ขาดตามสัญญาแก่โจทก์ จึงเป็นการจัดทำเอกสารขึ้นโดยผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียวยอมรับผิดเท่านั้น เมื่อฝ่ายโจทก์มิได้ตกลงและลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่ใช่เป็นการที่โจทก์โต้แย้งหรือสงวนสิทธิในการเรียกค่าเสียหาย ตามเอกสารดังกล่าวหามีผลให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดค่าขาดราคาตามที่ระบุไว้ในเอกสารไม่ นอกจากนี้แล้วพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดและส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์โดยไม่เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 สละประโยชน์ในส่วนที่โจทก์ต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาภายใน 30 วันตามสัญญาข้อ 9.1 (ก) ตามที่โจทก์ฎีกา เนื่องจากข้อสัญญาดังกล่าวเป็นข้อกำหนดบังคับโจทก์ให้ปฏิบัติเพื่อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา หาใช่ข้อกำหนดให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติที่จำเลยทั้งสองจะสละประโยชน์ได้และเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์แล้ว ภายหลังโจทก์ได้รับรถยนต์คืน โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกเช่าซื้อโดยออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน 30 วัน หากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาเลิกกันได้อีก หนังสือบอกเลิกสัญญาจึงไม่มีผลบังคับได้ ดังนี้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
#ปรึกษาคดี โทร. 081-6161425, 081-8217470, 081-6252161, 02-9485700
           

แสดงความเห็น