เจ้ามรดกไม่มีทายาทและไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้กับผู้ใดเมื่อตายทรัพย์มรดกตกเป็นของแผ่นดิน|เจ้ามรดกไม่มีทายาทและไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้กับผู้ใดเมื่อตายทรัพย์มรดกตกเป็นของแผ่นดิน

เจ้ามรดกไม่มีทายาทและไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้กับผู้ใดเมื่อตายทรัพย์มรดกตกเป็นของแผ่นดิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เจ้ามรดกไม่มีทายาทและไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้กับผู้ใดเมื่อตายทรัพย์มรดกตกเป็นของแผ่นดิน

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2567

บทความวันที่ 19 มี.ค. 2568, 09:51

มีผู้อ่านทั้งหมด 683 ครั้ง


เจ้ามรดกไม่มีทายาทและไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้กับผู้ใดเมื่อตายทรัพย์มรดกตกเป็นของแผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2567

โจทก์และจำเลยทั้งห้าไม่ใช่ทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรมของ ต. ผู้ตาย โจทก์และจำเลยทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรม ทรัพย์มรดกย่อมตกเป็นของแผ่นดิน การจะวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอส่วนแบ่งหรือไม่ หรือจำเลยทั้งห้าจะต้องคืนเงินให้แก่โจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าเงินดังกล่าวโจทก์และจำเลยทั้งห้ามีสิทธิในเงินดังกล่าวหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเงินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน โจทก์และจำเลยทั้งห้าไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกหรือเกินกว่าฟ้อง

 

___________________________

 

 

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระเงิน 506,783.01 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งห้าไม่ดำเนินการดังกล่าว ให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันคืนเงินส่วนแบ่งที่ได้รับไป 1,304,725.43 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งห้าให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยทั้งห้าฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์และจำเลยทั้งห้าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสถิตย์กับนางเบญจพรทั้งสองคนถึงแก่ความตายแล้ว นายโต๊ะเม้ง ผู้ตาย ไม่มีภริยาและบุตร ส่วนบิดามารดาถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว นายโต๊ะเม้งรับนายสถิตย์เป็นบุตรบุญธรรมแต่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 ขณะถึงแก่ความตายผู้ตายมีทรัพย์สินเป็นเงินตามบัญชีเงินฝากธนาคารหลายธนาคารและหลายบัญชี มีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 นางสาวปิยาภรณ์ และนางสาวไซ้จวง โจทก์ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะเงินตามบัญชีเงินฝากที่มีชื่อผู้ตาย โจทก์ และจำเลยที่ 2 กับที่ 4 ร่วมกันเปิดไว้กับธนาคารรวม 3 บัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 4 ยื่นคำคัดค้าน ต่อมาตกลงเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันและตกลงแบ่งเงินตามบัญชีเงินฝาก 3 บัญชีดังกล่าว ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน เฉพาะบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. เลขที่บัญชี 006- 1- 29xxx- x ชื่อ นายโต๊ะเม้ง เพื่อนายสมศักดิ์ นางวิไลและนางวิภา กับบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. เลขที่บัญชี 177-3-03 xxx- x ชื่อ นางสาววิภา และนายโต๊ะเม้ง และบัญชีเงินฝากธนาคาร อ. เลขที่บัญชี 322-140- 05x-xxx ชื่อ นางวิภา และนายโต๊ะเม้ง (ต่อมาเปลี่ยนเป็นบัญชีธนาคาร อ. บัญชี 020-299-53x-xxx และเลขที่บัญชี 300-036-47x-xxx ชื่อ นางสาววรุณรัตน์หรือวิภา)

             คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งห้าว่า ทรัพย์มรดกของผู้ตายตกเป็นของแผ่นดินและศาลชั้นต้นพิพากษาเกินฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์และจำเลยทั้งห้าไม่ใช่ทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรมของนายโต๊ะเม้ง ผู้ตาย โจทก์และจำเลยทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ผู้ตาย และผู้ตายยกทรัพย์สินให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยทั้งห้ามีแต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 มาเบิกความลอย ๆ โดยปราศจากหลักฐานสนับสนุน หากเป็นเช่นที่กล่าวอ้างจริง ควรมีหลักฐานความเป็นหนี้ที่ผู้ตายลงลายมือชื่อรับสภาพ หรือมิฉะนั้นผู้ตายคงดำเนินการเปลี่ยนชื่อในบัญชีเงินฝากจากผู้ตายมาเป็นชื่อจำเลยที่ 2 แล้ว การเปลี่ยนชื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากไม่ใช่เรื่องที่กระทำโดยยากและไม่ปรากฏเหตุที่ไม่สามารถกระทำได้ หรือหากผู้ตายไม่ประสงค์จะดำเนินการดังกล่าวแต่ยังคงมีเจตนายกเงินในบัญชีเงินฝากให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ตายก็ควรทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานเช่นว่านั้นใด ๆ ทั้งสิ้น แต่กลับได้ความว่าในคดีร้องจัดการมรดกของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้คัดค้านมีการตกลงกันไม่ใช่แต่เฉพาะควรตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก แต่ยังตกลงกันถึงเรื่องทรัพย์สินของผู้ตายด้วย โดยจำเลยที่ 2 ยินยอมแบ่งเงินตามบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. บัญชีเลขที่ 177 - 3 – 03xxx – x มีชื่อโจทก์และนายโต๊ะเม้ง เป็นเจ้าของบัญชี และบัญชีเงินฝากธนาคาร อ. เลขที่ 322-140-05x-xxx มีชื่อโจทก์และนายโต๊ะเม้ง เป็นเจ้าของบัญชี ซึ่งต่อมาโจทก์ได้ถอนเงินออกจากบัญชีแล้วไปเปิดบัญชีใหม่ที่ธนาคาร อ. บัญชีเลขที่ 300–036–47x-xxx และบัญชีเลขที่ 020-299-53x-xxx ในส่วนของนายโต๊ะเม้ง ให้แก่โจทก์จำนวน 1 ใน 6 และให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 อีกคนละ 1 ใน 6 เห็นได้ว่าหากผู้ตายยกเงินในบัญชีดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่มีความจำเป็นต้องแบ่งเงินให้แก่โจทก์หรือจำเลยอื่น ผู้ตายจึงไม่ได้เป็นหนี้และไม่ได้ยกทรัพย์ให้จำเลยที่ 2 เงินตามบัญชีเงินฝากจึงเป็นของผู้ตายย่อมตกทอดเป็นมรดก เมื่อผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรม ทรัพย์มรดกย่อมตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าเพื่อขอส่วนแบ่งเงินในบัญชีเงินฝากในส่วนที่จำเลยทั้งห้าและนางไซ้จวง มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับผู้ตาย แต่หากจำเลยทั้งห้าไม่ยอมแบ่งเงินก็ขอให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินตามบัญชีเงินฝากที่โจทก์มีชื่อร่วมกับผู้ตายที่จำเลยทั้งห้ารับไปจากโจทก์ นอกจากจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินตามบัญชีเงินฝากที่ฝ่ายจำเลยมีชื่อร่วมกับผู้ตายหรือไม่แล้ว ยังต้องวินิจฉัยอีกว่าจำเลยทั้งห้าต้องคืนเงินตามบัญชีเงินฝากที่โจทก์มีชื่อร่วมกับผู้ตายหรือไม่ การจะวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอส่วนแบ่งหรือไม่ หรือจำเลยทั้งห้าจะต้องคืนเงินให้แก่โจทก์หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าเงินดังกล่าวโจทก์และจำเลยทั้งห้ามีสิทธิในเงินดังกล่าวหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเงินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน โจทก์และจำเลยทั้งห้าไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกหรือเกินกว่าฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตกเป็นของแผ่นดินนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งห้าฟังไม่ขึ้น

             พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

สอบถามข้อกฎหมายกับทีมทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก