งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าฟ้องเจ้าหน้าที่ก่อนเป็นคดีอาญาแล้วแพ้ จะมาฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางแพ่งไม่ได้ เพราะศาลในคดีหลังจะถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันในคดีหลัง ดังนั้น ถ้าจะฟ้องหน่วยงานของรัฐเรียกค่าเสียหาย ควรฟ้องเป็นคดีแพ่ง ไม่ควรฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นคดีอาญาก่อน
#ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ #
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2567
โจทก์ฟ้อง ธ. เป็นคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นในความผิดฐานก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเองน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84, 220 คดีถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นพิพากษาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่า ธ. กระทำความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง ซึ่งเป็นการฟ้องโดยอาศัยเหตุเดียวกันกับคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดจากการกระทำของ ธ. ข้าราชการในสังกัดของจำเลย จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 คำพิพากษาในคดีดังกล่าวผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี การที่จะพิจารณาว่า ธ. กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ในคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามมาตรา 46 เมื่อคดีส่วนอาญาศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ธ.ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ถือว่า ธ. มิได้กระทำละเมิดตามฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วย ดังนั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของ ธ. ให้รับผิด ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ให้ศาลในคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ให้การ จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 252
กรณีตัวอย่าง
รายละเอียดคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่เกี่ยวข้อง
คดีหมายเลขดำที่ พ2540/2566 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 วรรคหนึ่ง บัญญัติเรื่องอายุความในมูลละเมิดไว้ว่า " สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวพึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน" ส่วนวรรคสองได้บัญญัติในกรณีที่การทำละเมิดที่เกิดขึ้นดังกล่าว มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่า ก็ให้เอาอายุความที่ยาวกว่าใช้บังคับ
คดีนี้จำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง แต่ต้องถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดโดยผลของกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 4 และมาตรา 5 จึงต้องใช้อายุความหนึ่งปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หาใช่นับอายุความอย่างคดีอาญาไม่ นอกจากนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสี่ บัญญัติว่า"ถ้าโจทก์ฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยจนคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว ก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" เมื่อคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2558 ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 12 มีนาคม 2558 โจทก์แจ้งความร้องทุกข์และร้องทุกข์และร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจทั้ง 11 นาย ไปยังหน่วยงานราชการต่างๆ หลายหน่วยงาน แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับตั้งแต่นั้นแล้ว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566 ซึ่งพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ประเด็นที่สอง เหตุละเมิดเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำลยหรือไม่ เห็นว่า ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องเจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมทั้ง 11 นาย คำฟ้องเป็นคดีอาญาของศาลจังหวัดหัวหิน ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ตามคำพิพากษาศาลจังหวัดหัวหิน เอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 15 แผ่นที่ 4 ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 46 บัญญัติว่า "ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา" เมื่อคดีอาญาดังกล่าว ศาลรับฟังข้อเท็จจริงจากการไต่สวนของโจทก์ว่าการกระทำของเจ้าพนักงานชุดจับกุมทั้ง 11 นาย ไม่มีมูลความผิด จึงพิพากษายกฟ้องและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว และโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นคดีละเมิดจากการทำร้ายร่างกายของเจ้าพนักงานตำรวจทั้ง 11 นาย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับคดีอาญาดังกล่าว ต้องรับฟังว่าการกระทำของเจ้าพนักงานชุดจับกุมทั้ง 11 นาย ไม่เป็นความผิดเช่นนี้ การละเมิดจึงไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลย
ประเด็นสุดท้าย จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้" คำว่าหน่วยงานของรัฐ คดีนี้ก็คือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคำว่าเจ้าหน้าที่ของตน ก็คือเจ้าพนักงานตำรวจทั้ง 11 นาย เมื่อการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจทั้ง 11 นายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
พิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ปรึกษากฎหมายกับทีมทนายความทนายคลายทุกข์ โทร 02-9485700