งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
วิธีการแบ่งทรัพย์มรดกตามกฎหมาย
#แบ่งมรดก #หลักกฎหมายการแบ่งมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2567
ป.พ.พ.มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้นอาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าการแบ่งมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญา จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำมาตรา 850,852 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดยอนุโลม เห็นว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น ป.พ.พ.บรรพ 6 ลักษณะ 4 หมวด 3 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวแบ่งได้ 3 วิธี กล่าวคือ
1. โดยทายาทต่างเข้าครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยการแบ่งตัวทรัพย์ตามความยินยอมโดยตรงหรือโดยปริยายและต่างเข้าครอบครองตามทรัพย์มรดกที่ได้รับแบ่งปันนั้น กรณีนี้ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็บังคับได้
2. โดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท กรณีเกิดจากทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกไม่อาจแบ่งตัวทรัพย์กันได้ การขายอาจตกลงกันว่าให้ประมูลกันระหว่างทายาท หรือประกาศขายหรือถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องนำคดีมาฟ้องเรียก ให้แบ่งมรดกโดยขอให้ศาลพิพากษาให้แบ่งระหว่างเจ้าของรวม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1364 และ
3. การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาที่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ มิเช่นนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ยืนยันตามที่บรรยายฟ้องว่า ฉ. และ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้นัดประชุมทายาทโดยธรรมของ พ. เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกในวันนัดมีโจทก์ และทายาททุกคนยกเว้นจำเลยมาประชุมโดยพร้อมกันที่ประชุมตกลงให้มีการจับฉลากแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนในสัดส่วนเท่าๆ กัน เมื่อจำเลยไม่มาประชุม ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ ล. เป็นผู้จับฉลากแทน เมื่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดย ฉ.และ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น มิชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 6 ลักษณะ 4 หมวด 3 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะตามหลักกฎหมายข้างต้น แม้ ฉ. และ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ที่พิพาทก็ยังเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นทายาทด้วยกันย่อมมีส่วนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเท่ากันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1745, 1746 และย่อมมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ กรณีตามคำฟ้องถือว่ายังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของจำเลยต่อโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ทั้งข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องมิใช่เรื่องขอแบ่งมรดกในอันที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาให้ เพราะเป็นการเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฎในคำฟ้อง ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
มีปัญหากฎหมาย สอบถามได้ที่ 02-9485700,081-6161425,081-6252161