กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของใคร|กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของใคร

กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของใคร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของใคร

หนูไปกู้เงินธนาคารคารก่อสร้างบ้านบนที่ดินของสามี

บทความวันที่ 15 ม.ค. 2558, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11513 ครั้ง


กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของใคร

           หนูไปกู้เงินธนาคารคารก่อสร้างบ้านบนที่ดินของสามี ซึ่งจดทะเบียนสมรสกันแล้วในตอนกู้นั้นไม่ทราบกฏหมาย แต่พอตอนหลังมารู้ว่า ถ้าบ้านหลังนี้ทำการผ่อนเสร็จเรียบร้อยแล้ว บ้านจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินคือสามี หนูเลยอยากทราบว่า ที่ดินผืนนี้เป็นที่ดินที่บิดาของสามีโอนให้สามี หลังจากที่หนูและสามีจดทะเบียนกัน หนูอยากทราบว่า ทั้งที่ดินและตัวบ้านจะเป็นกรรมสิทธิ์ของใครค่ะ คือ ณ ตอนนี้ถูกหักเงินเดือนทุกเดือนจนกว่า จะอายุ 60 ปี เพราะต้องผ่อนบ้าน แล้วถ้าผ่อนหมดบ้านหลังนี้ก็จะตกไปเป็นของเจ้าของที่ดินคือ สามี เลยกังวลนิดหน่อย


คำแนะนำสำนักงานทนายความ
              กรณีดังกล่าวท่านและสามีจดทะเบียนสมรสกัน มีผลก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1457, 1498 ทั้งนี้ หนี้กู้เงินธนาคารเพื่อก่อสร้างบ้านที่ดินของสามีภายหลังสมรสดังกล่าว จึงเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว หนี้ที่ท่านก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ท่านและสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490(1) ส่วนบ้านเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ย่อมเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474 และไม่ตกเป็นส่วนควบกับที่ดินในอันจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสามีแต่อย่างใดตามมาตรา 146 ตอนท้าย และมาตรา 144 วรรคสอง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก