คดี
กยศ. ขู่ฟ้องนักเรียน 9 หมื่นราย
หลายคนสงสัยว่าคดี กยศ.
ที่นักเรียนกู้ยืมเงินมาเพื่อการศึกษานั้น เป็นคดีกู้ยืมหรือการผ่อนใช้ทุนกันแน่
ทนายคลายทุกข์ ขอเรียนว่า คดีกู้เงิน กยศ. ไม่ใช่คดีกู้ยืม แต่เป็นนิติกรรมสัญญาที่ไม่มีชื่อ
เรียกว่า การผ่อนใช้ทุน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33
(2) กยศ. มีสิทธิ์เรียกร้องเงินคืนจากนักเรียนได้ภายใน
5 ปี หากนักเรียนคนไหนที่เป็นหนี้มีความประสงค์ที่จะเจรจากับ กยศ.
ก็ควรจะเจรจาไม่ควรให้ฟ้องร้อง เพราะไม่ควรจะเสียเวลาและเสียประวัติโดยไม่ใช่เหตุ
อีกทั้งเงินที่นำมาให้กู้ยืมก็เป็นเงินที่เป็นเงินภาษีอากร
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา
193/33
สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี
( 2 )
เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
กยศ.จ่อฟ้องนักเรียน 9 หมื่นราย
ระบุผิดนัดจ่ายคืนเงินกู้ 4
งวดติดต่อเปิดทางเลือกเจรจาไกล่เกลี่ยนอกศาล
นาย
ทั้งนี้ กยศ.ได้ขอให้ศาลยุติธรรมทำการไกล่เกลี่ยกับผู้ถูกฟ้อง
โดยนัดเจรจากับผู้กู้ยืมที่ยังค้างชำระหนี้ เพื่อให้มาผ่อนชำระหนี้คืน กยศ.ใน 2 กรณี
คือทำคำรับรองขอชำระหนี้ที่ค้างชำระและทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล
หากไม่ดำเนินการก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งกยศ.ได้จัดโครงการไกล่เกลี่ยฯ
ขึ้น ใน 9 จังหวัด คือที่กรุงเทพฯ, เชียงใหม่,
ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์,
ร้อย เอ็ด, ขอนแก่น, สุราษฎร์ธานี,
นครศรีธรรมราช และสงขลา ขึ้นในวันที่ 8 ม.ค.-8 มี.ค. 51 นี้
นายธาดา กล่าวว่า
การฟ้องร้องเด็กนักเรียนนักศึกษาครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า กยศ.จะเอาผิดกับผู้กู้ยืมเงินแต่อย่างใด
แต่เป็นสัญญาที่กยศ.ต้องดำเนินการ
เพราะถือว่าเด็กนักเรียนผิดนัดชำระหนี้เช่นเดียวกับผู้กู้เงินจากสถาบันการเงินทั่วไป
เพราะหากไม่กู้ยืม กยศ.ก็จะมีความผิดตามระเบียบเช่นกัน
และการเปิดโครงการไกล่เกลี่ยครั้งนี้จะทำให้เด็กนักเรียนนักศึกษามีโอกาสมาติดต่อเพื่อชำระหนี้ที่ค้างอยู่
รวมทั้งช่วยลดปริมาณคดีที่จะฟ้องคดีในศาลและลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีกับผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน
ที่สำคัญยังช่วยเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ กยศ.
และสร้างจิตสำนึกในการชำระหนี้ ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ
?กยศ.ต้องการให้เด็กนักเรียนนักศึกษาที่กู้ยืมเงินมาร่วมโครงการทุกรายเพราะจะได้ไม่ถูกดำเนินคดี
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งค่าไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ค่าธรรมเนียมศาลหรือค่าทนายความ
ที่สำคัญผู้กู้ยืมเงินจะได้รับโอกาสมากขึ้นในการผ่อนผันการชำระหนี้ และเมื่อไกล่
เกลี่ยข้อพิพาทเสร็จแล้วยังทราบผลทันที
โดยไม่ต้องเสียเวลามาศาลเพื่อฟังการพิจารณาคดี
รวมทั้งยังมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหาวิธีชำระหนี้ที่เหมาะสมกับตัวเองอีกด้วย?
นอกจากนี้ กยศ.ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและการอบรมเกี่ยวกับการนำระบบอี-สติวเด้นท์โลน หรือการกู้ยืมเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
มาใช้ในการกู้ยืมเงินตั้งแต่ปีการศึกษา 51 เป็นต้นไป โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-31 ม.ค. นี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสถานศึกษา
นักเรียนนักศึกษาที่จะขอกู้ยืมเงินจาก กยศ.ให้มีความเข้าใจที่ตรงกันและทำให้ได้รับเงินที่กู้ยืมรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย
นายธาดา กล่าวว่า ในปีการศึกษา 50
ต้องยอมรับว่าผู้กู้ยืมเงินจาก กยศ.อาจได้รับเงินล่าช้า
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย แต่กยศ.ได้พยายามหาแนวทางเพื่อให้เด็กนักเรียนนักศึกษาได้รับเงินโดยเร็วที่สุดแล้ว
จนล่าสุดธนาคารกรุงไทยได้โอนเงินให้สถานศึกษากว่า 90% แล้ว
โดยยืนยันว่าในปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป เมื่อนำระบบอี-สติวเด้นท์โลนเข้ามาใช้แล้วปัญหาทุก
อย่างจะหมดไปแน่นอน
ก่อนหน้านีนายธาดา
ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเด็กนักเรียนนักศึกษาที่ยังไม่ได้รับเงินกู้จากสถานศึกษา
โดยขอให้สำรวจรายชื่อจากสถานศึกษาให้ชัดเจนก่อนว่าได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลที่ได้รับเงินกู้หรือไม่จากนั้นจึงตรวจสอบไป
ที่ธนาคารกรุงไทยว่ามีการโอนเงินแล้วหรือไม่ หากมีปัญหาจริง ๆ
ก็ขอให้ติดต่อมาที่สำนักงานของ กยศ.ได้
ทั้งนี้ที่ผ่านมาธนาคารกรุงไทย
ได้โอนเงินให้จนเกือบครบตามสัญญาที่สถานศึกษาส่งมาให้แล้ว
แต่ก็พบว่ายังมีบางส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินกู้จาก กยศ.เพราะมีปัญหาเรื่องการขอโควตาเกินงบประมาณที่
กยศ.จัดให้
ซึ่งเรื่องนี้ต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งก่อน.
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์