ลงชื่อในกระดาษเปล่า ถือว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง|ลงชื่อในกระดาษเปล่า ถือว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ลงชื่อในกระดาษเปล่า ถือว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลงชื่อในกระดาษเปล่า ถือว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432-433/2567  

บทความวันที่ 12 ธ.ค. 2567, 10:31

มีผู้อ่านทั้งหมด 274 ครั้ง


ลงชื่อในกระดาษเปล่า ถือว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432-433/2567  
         โจทก์ที่ 1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำนิติกรรมกู้ยืมเงินมาพอสมควร  การละเลยไม่ตรวจสอบเอกสารก่อนลงชื่อ ทั้งยังมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารสำคัญของตนพร้อมลงชื่อรับรองความถูกต้องให้แก่จำเลยที่ 1  เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 กระทำการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่อาจอ้างเหตุการถูกจำเลยที่ 1  หลอกลวงมาขอเพิกถอนนิติกรรมให้กระทบสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
         โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินไปยังจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกว่าเกิดจากการปลอมเอกสารการมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่โจทก์ที่ 1 ไม่บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่  4 กระทำนิติกรรมโดยสุจริตและไม่ได้ค่าตอบแทน เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตการที่โจทก์ที่ 1 ไม่บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นเพื่อนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำการโดยไม่สุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำการโดยไม่สุจริตและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ และต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำนิติกรรมโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
        จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกทำนิติกรรมโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ที่ 1 ไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 และระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ตามฟ้องได้ ดังนั้น สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ขายที่ดินสองแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 เสียหายต้องสูญเสียที่ดินไป เป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1  จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  420
         โจทก์ที่ 1 มีเพียงคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมต่างๆ ระหว่างจำเลยทั้งสี่โดยมิได้มีคขอให้ใช้ราคาที่ดินทั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 แต่เมื่อศาลไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมเพื่อให้ที่ดินทั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของโจทก์ที่ 1 ได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาที่ดินทั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 ได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

อ้างอิง คำพิพากษาฎีกาประจำพุทธศักราช 2567 ตอนที่ 1

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก